what.gif (4683 bytes) aniflower.gif (2347 bytes)aniflower.gif (2347 bytes)barslider.gif (11170 bytes)

 musica6.gif (538 bytes)  [ กลับไปหน้าแรก updated.gif (1754 bytes)

บทบาทของพิธีกร

          ความหมายของคำว่า พิธีกร

          ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเรียกผู้ทำงานที่พูดหรือเชิญหรือกำกับรายการในพิธีการต่าง ๆ ว่า "โฆษก" จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิด กันตลอดมา เพราะในการจัดพิธีการนั้นเราจะเรียกผู้ดำเนินรายการว่า " พิธีกร" ซึ่งทั้ง 2 คำนี้  มีความหมายแตกต่างกัน  ดังนี้

          พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ.2525    ไ้ด้ให้ความหมายไว้ว่า
          โฆษก   คือ ผู้ประกาศ ผู้โฆษณา เช่น โฆษกสถานีวิทยุ หรือ ผู้แถลงแทน เช่น โฆษกรัฐบาล
         
พิธีกร  
คือ ผู้ดำเนินรายการในพิธี หรีอผู้ดำเนินรายการ
         
พิธีกร  
คือ บุคคลที่รับผิดชอบด้านพิธีการ มีหน้าที่ดำเนินรายการให้เป็นไปตามขั้นตอนที่เตรียมไว้แล้ว

          พิธีกร มาจากรากศัพท์ ว่า วิธี + กร เป็นคำสมาส แปลว่า ผู้กระทำพิธี โฆษก มาจากรากศัพท์ โฆษะ แปลว่า
 เสียงดังเสียงกึกก้อง ก มาจาก ณ ปัจจัยในกิริยากิตถ์แสดงให้เห็นว่าเป็นบุคคล โฆษ + ก จึงเป็นบุคคลผู้ทำเสียงดัง, เสียงกึกก้อง ดังนั้น ความหมายของคำว่า โฆษก จึงหมายถึงเพียงบุคคลที่พูดอย่างเดียว

          คำว่า "พิธีกร" เริ่มใช้ทางสถานีไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม คำว่า "ผู้ดำเนินรายการ" เริ่มใช้ทางสถานีโทรทัศน์กองทับบก ช่อง 7 เมื่อสมัยที่ยังเป็นช่อง 5 สี ( อุฬาร เนื่องจำนง อ้างใน บุญศรี ปราบ ณ ศักดิ์) นับตั้งแต่นั้นมาประชาชนเริ่มเห็นความแตกต่าง ระหว่าง "พิธีกร" กับ "โฆษก" มากขึ้น

          ในภาษาอังกฤษ คือ master of ceremonies ซึ่งมักใช้คำว่า MC ใน dictionary มีความหมายว่า "person who superintends the foms to observes on various social occasion"

          ส่วนคำว่า "ผู้ดำเนินการอภิปราย" นั้น หมายถึงผู้กล่าวนำ ผู้แนะนำอภิปราย สรุปการอภิปรายของผู้อภิปรายแต่ละคน ดำเนินการให้มีการซักถาม และรับฟังความคิดเห็นจากผู้ฟัง กล่าวขอบคุณอภิปรายและปิดอภิปราย บุคคลผู้นี้ไม่เรียกว่าผู้ดำเนิน รายการ หรือพิธีกร หรือวิทยากร

          จากทรรศนะดังกล่าวนี้ จะเห็นว่า พิธีกร มิใช่ โฆษก และ โฆษก มิใช่ พิธีกร พิธีกร มิใช่ผู้ที่ขึ้นไปพูดบนเวทีหรือต่อหน้า สาธารณชนโดยไม่มีการเตรียมงาน ไม่มีประสานงานหรือไม่มีการกำกับรายการใด ๆ ปล่อยให้คนอื่นทำงานและตัวเองมีหน้าที่พูด
อย่างเดียว หากไม่เป็นตามขั้นตอนก็จะโทษผู้อื่น ถ้านิยามพิธีกรว่าเป็นโฆษกอย่างนี้งานพิธีการจึงออกมาอย่างล้มเหลว หรือไร้ ประสิทธิภาพ

          ดังนั้น การเลือกคนพูดเก่งมาเป็นโฆษก อาจเป็นเรื่องถูกต้อง แต่การคัดเลือกคนพูดเก่งมาเป็นพิธีกรนั้นอาจเหมาะสำหรับ
งานที่ไม่เป็นทางการ เช่น
สังสรรคเลี้ยงส่ง หรืองานชาวบ้าน ที่ไม่ต้องมีพิธีการอย่างเป็นขั้นตอน แต่ถ้าเป็นงานที่ถูกยกระดับให้ เป็นพิธีการสำคัญ พิธีการที่เน้นความเป็นสิริมงคลหรือเน้นความขลัง นั้น จะต้องเลือกพิธีกรที่มีคุณสมบัติพร้อมทุกอย่าง ไม่ว่าจะ
เป็นด้านการพูด การเตรียมงาน การประสาน และความรู้จักกาละเทศะ. 

คุณลักษณะพึงประสงค์ของพิธีกร
          เนื่องจากในงานพิธีการต่าง ๆ นั้น ผู้มาร่วมประกอบพิธีทุกคนจะมุ่งความสนใจไปที่จุดเดียวกัน คือ พิธีกร เพราะต้องการ ทราบว่าพิธีกรจะเริ่มอย่างไร จะดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนอย่างไร จะจบอย่างไร ดังนั้นพิธีกรจึงเป็นจุดเด่นของพิธีการนั้น ๆ
จึงต้องมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้

          ด้านบุคลิกภาพ
          แต่งกายเรียบร้อยสุภาพ ถูกกาละเทศะ ถ้าแต่งเครื่องแบบต้องแต่งให้ได้ครบและถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ทุกประการ เช่น ป้ายชื่อไม่มีเครื่องหมายสังกัด อากัปกิริยากระตือรือร้น แต่ไม่ลุกลี้ลุกลน ใบหน้าเบิกบานแจ่มใส  มองผู้อื่นอย่าง  
เป็นมิตร มีท่าทีโอภาปราศรัยและต้อนรับขับสู้ มีความทรงจำดี

          ด้านการพูด
          -  มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด เช่น การทักที่ประชุม การพูดให้สละสลวย
          -  การพูดเชื่อมโยง ไม่พูดห้วน ๆ สั้น ๆ เกินไป หรือไม่มีขยะถ้อยคำมากเกินไป
          -  ไม่พูดมากเกินไป น้อยเกินไป ไม่พูดวกวน
          -  ไม่พูดด้วยท่าทีเคร่งเครียดเป็นทางการเกินไป
          -   บางโอกาส บางงาน อาจมีลูกเล่น หรือมุขตลกประกอบ
          -  ไม่พูดพล่าม หรือเพ้อเจ้อเกินไป
          -  ไม่มีลักษณะเป็นการอ่านข้อความมากกว่าการพูด

          ด้านปฏิภาณไหวพริบและด้านจิตใจ
          -  มีปฏิภานไหวพริบ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
          -  ปรับตัวได้ตามสถานการณ์
          -  จิตใจสุขุมเยือกเย็น
          -  ควบคุมอารมณ์ได้ดี หรือมีสมาธิดี

          ปฏิภาณไหวพริบเป็นเรื่องสำคัญมากบนพื้นฐานแห่งความเป็นผู้รู้จิตวิทยาและยำเกรงในความรู้สึกของผู้อื่น เช่น วิทยากร พูดเกินเวลา ถามพิธีกรว่า "เวลาของฉันหมดหรือยัง ขอต่ออีก 20 นาที ได้ ไหม" พิธีกรจะตอบคำถามนี้อย่างไร จึงจะไม่เสียความ
รู้สึกของวิทยากรอีกท่านหนึ่ง ซึ่งนั่งรอบรรยายในชั่วโมงถัดไป หากตอบไปว่า "วิชาของท่านสำคัญมากผู้จัดจะให้เวลาท่านเพิ่มใน
ตอนบ่าย  เป็นต้น.                   

 


จัดทำโดย : ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ  อำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดสุรินทร์  32170  โทร. 044 - 569213
ศรายุทธ บูรณ์เจริญ     ผู้อำนวยการ     srayudhb@hotmail.com  , srayudhb@mweb.co.th , srayudh@chaiyo.com
ชนัญชิดา   ทองคำ   chida.cha@chaiyo.com
 นงเยาว์   สมนาค     somnaksripsa@catcha.com