what.gif (4683 bytes)musica6.gif (538 bytes)  aniflower.gif (2347 bytes)aniflower.gif (2347 bytes)barslider.gif (11170 bytes)

กลับไปหน้าแรก

คำกล่าวนำ การกล่าวขอบคุณวิทยากร การกล่าวต้อนรับ การกล่าวตอบคำอวยพร

  

            การทักที่ประชุมหรือทักผู้ฟัง  เป็นมารยาทอย่างหนึ่งของการพูด  นอกจากจะเป็นการแสดงออกทางมารยาทหรือธรรมเนียมนิยมแล้ว  ยังมีผลทางจิตวิทยาที่ดีต่อผู้ได้รับการทักทาย  การทักทายผู้ฟังได้อย่างเหมาะสม  ย่อมเป็นใบเบิกทางที่ดีของการปฏิบัติหน้าที่ มีหลากหลายแบบด้วยกัน ได้แก่   คำกล่าวทักทายหรือปฏิสันถาร   คำกล่าวนำ  การแจ้งรายการภาคพิธีการ การแนะนำวิทยากร การกล่าวสรุป  

  การกล่าวขอบคุณ   การกล่าวให้เกียรติหรือมอบรางวัล  การกล่าวตอบรับ  การกล่าวต้อนรับ  การกล่าวในการเข้ารับตำปหน่ง การกล่าวอวยพรงานมงคลสมรส การกล่าวอวยพรงานวันเกิด การกล่าวตอบคำอวยพร การกล่าวไว้อาลัย และการกล่าวอำลา.    

เชิญ คลิกที่นี่ครับ. 

คำกล่าวทักทายหรือปฏิสันถาร  

การทักทายทั่วไป    ได้แก่  การทักทายหรือเอ่ยชื่อบุคคลสำคัญ ซึ่งนั่งฟังอยู่ด้วย ซึ่งเป็นแบบที่ใ้ช้กันอยู่ทั่วไป  เช่น

        "ท่านศึกษาธิการจังหวัด  ท่านผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด   ท่านผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน"

        

หลักการทักทายทั่วไป

        1. การทักทายแบบนี้จะต้องไม่ทักทายชื่อทุกตำแหน่งทุกคนที่นั่งนับสิบราย  ควรทักชื่อเรียงตำแหน่ง 3 - 4 ชื่อ 

            ก็เป็นการพอเพียง  แล้วตามด้วยคำว่า "และแขกผู้มีเกียรติ"

       2.  เวลาทักผู้ใดควรหันหน้าไปทางผู้นั้นจนกระทั่งสบตาหรือหรือมองไปที่ใบหน้าของผู้ถูกทัก  

       3. ไม่ต้องมีคำว่า  "เรียน"  กราบเรียน หรือ สวัสดี"  นำหน้า

       4. ถ้ามีพระสงฆ์ผู้ใหญ่นั่งอยู่ด้วย  ควรเริ่มต้นด้วยการเอ่ยชื่อท่านก่อน เช่น "นมัสการพระครูอนุสรณ์ธรรมสถิตย์"  

       5. ถ้ามีพระสงฆ์ผู้ใหญ่หลายรูปจะใช้ว่า  "นมัสการพระเถรานุเถระ"  ต่อไปจะทักทายฆราวาสในคราวเดียวกันนั้น  

           จะต้องคั่นด้วยคำว่า  "กราบเรียน" หรือ "เรียน"  เพื่อเป็นการให้เห็นความแตกต่าง.

 

 คำกล่าวนำ

         คำกล่าวนำ   ได้แก่การอารัมภบท เป็นการนำทางหรือกรุยทางหรือนำร่องเข้าสู่พิธีการ ส่วนใหญ่ใช้พูดตอนผู้เข้าประชุมมาพร้อมกันแล้ว  แต่ประธานในพิธียังมาไม่ถึงหรือมาถึงแล้วแต่ยังไม่พร้อมด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม  

สาระสำคัญของการกล่าวนำ  ได้แก่  ชื่อพิธีกร  วัตถุประสงค์ (สั้น ๆ ) ผู้รับผิดชอบจัดพิธีการนั้น ผู้สนับสนุนและผู้มาเป็นประธานในพิธี.

 การแจ้งรายการภาคพิธีการ 

    เมื่อกล่าวนำหรืออารัมภบทเสร็จเรียบร้อยแล้ว  พิธีกรต้องสอบถามผู้ช่วยหรือผู้ใกล้ชิดที่เตรียมกันไว้  หากประธานยังมาไม่ถึง หรือหากมีเวลาพอเพียงก็สมควรแจ้งรายการภาคพิธีการต่อไปได้  (หากไม่มีเวลาก็ไม่จำเป็นต้องแจ้ง)

การแจ้งรายการภาคพิธีการ  คือการแนะนำขั้นตอนต่างๆ ที่สำคัญ  เช่น  ...หลังจากพิธีเปิดวันนี้แล้ว  กระผมก็จะได้แนะนำบุคคลสำคัญหรือแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมพิธีในวันนี้  และหลังจากนั้นก็จะเชิญวิทยากรขึ้นทำหน้าที่จนกว่าจะถึงเวลา 10.00 น. เราจะมีการพักรับประทานอาหารว่าง เป็นเวลา 10 นาที และฟังการบรรยายต่อไปจนถึงเวลา 12.00 น.เป็นการพักรับประทานอาหาร.

 

การแนะนำวิทยากร

การแนะนำวิทยากร  ควรมีหลักการ ดังนี้

1. กล่าวถึงความสัมพันธ์ของเนื้อหาวิชากับตัววิทยากร

    อาจใช้วิธีเรียกความสนใจด้วยคำคม  คำขวัญ

    หรือเหตุการณ์ที่ผู้คนสนใจอยู่ในเวลานั้นมาแนะนำ

2. กล่าวถึงความสำคัญของตัววิทยากร

3. กล่าวถึงลักษณะเด่น หรือผลงานเด่น

    โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่จะบรรยาย

4. แนะนำวุฒิการศึกษา หรือประสบการณ์ทำงานที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง

5. แนะนำชื่อ - สกุลในตอนท้าย พร้อมกับกล่าวเชิญ

 

  การกล่าวสรุป 

เมื่อวิทยากรบรรยายจบลง   หากจำเป็นต้องมีการสรุป  ควรยึดหลักการสรุป ดังนี้

1. จะต้องไม่เป็นการบรรยายซ้อนการบรรยาย

2. เพียงแต่เสริมแนวคิดให้สมบูรณ์เท่านั้น

3. ไม่แสดงความคิดเห็น หรือเปิดประเด็นแย้งกับผู้บรรยาย

4. ตอกย้ำจุดเด่นหรือประเด็นสำคัญ

5. อาจสรุปด้วยอุปมาอุปไมย  คำคม วลี หรือบทร้อยกรอง

 

 การกล่าวขอบคุณวิทยากร

การกล่าวขอบคุณวิทยากร  มีข้อพึงสังเกต  ดังนี้

1. หันหน้าไปทางผู้รับการกล่าวขอบคุณและกล่าวทักผู้รับการขอบคุณ  แต่เพียงผู้เดียว

2. อาการกล่าวหรือถ้อยคำที่กล่าวให้รู้สึกว่า กล่าวกับผู้รับการขอบคุณเท่านั้น

3. กล่าวถึงความประทับใจที่มีต่อบทบาทของผู้รับการขอบคุณ  เช่นบอกว่า "สิ่งที่ท่านได้พูดในวันนี้  พวกเราหมดความสงสัย 

    เกิดความสว่างใสว"

4. ลงท้ายด้วยข้อความ "ในนามของ...............(ในนามของคณะ หรือกลุ่ม  มิใช่ในนามของผู้ขอบคุณคนเดียว)

5. ไม่ควรชักชวนให้ปรบมือ หากปรารถนาจะให้มีการปรบมือ พิธีกรจะต้องมีศิลปะ ลงท้ายคำขอบคุณด้วยถ้อยคำที่ผู้ฟังอยากปรบมือ แล้วปรบมือขึ้นเอง หรือ พิธีกรอาจปรบมือนำ.

 

  การกล่าวให้เกียรติหรือมอบรางวัล 

          เมื่อมีการมอบทุน ให้รางวัล ให้เกียรติยศ หรือทำพิธีระลึกคุณความดีแก่ผู้ใด  มักจะมีการพูดเพื่อให้เกียรติแก่ผู้ได้รับผล หรือเกียรติแห่งความดีนั้น  มีเกณฑ์ ดังนี้

1. กล่าวถึงเหตุผลในการมอบ  โดยกล่าวถึงความสำเร็จ ความดี   หรือความสามารถของผู้ได้รับ  ว่าสมควรได้รับเกียรตินั้นอย่างไร 

    ควรเป็นการพูดอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง

2. แสดงความพอใจ

3.มอบของขวัญหรือรางวัลเมื่อกล่าวต่อผู้ฟังจบ

 

  การกล่าวตอบรับ 

การกล่าวตอบรับ เป็นการกล่าวของผู้ที่ได้รับทุน  รางวัล เกียรติคุณ หรือการแสดงระลึกถึงความดี   การกล่าวตอบรับมักจะพูดสั้น ๆ  ให้สอดคล้องกับสภาพในขณะนั้น  โดยมีแนวทาง  ดังนี้

1. แสดงความขอบคุณ  แสดงความพอใจในของขวัญหรือรางวัลเกียรติยศนั้น  ใช้ภาษาง่าย ๆ ชัดเจน จริงใจ

2. ถ่อมตนและยกย่องผู้ร่วมงาน อย่าโอ้อวดความสามารถของตนจนเกินไป และไม่ควรถ่อมตนจนไร้ความหมาย

    ควรสรรเสริญชมเชยผู้ร่วมงานที่ได้ช่วยเหลือจนเป็นผลสำเร็จ

3. สรรเสริญผู้ให้ของขวัญ หรือรางวัลด้วยความบริสุทธิ์ใจ  กล่าวถึงผลงานและความปรารถนาดี

4. กล่าวสรุป  โดยเน้นถึงความพึงพอใจที่ได้รับของขวัญ หรือรางวัลในขณะที่กล่าวควรมองไปยังของขวัญ หรือรางวัลนั้นด้วย.

 

การกล่าวต้อนรับ

 

           ในกรณีที่บุคคลสำคัญหรือคณะบุคคลมาประชุมกัน  หรือมาเยี่ยมเยียน  อาจมีการกล่าวต้อนรับ  เพื่อแสดงความปรารถนาดีและให้ผู้มาเยือนรู้สึกอบอุ่นใจ  การพูดไม่ควรยาวนัก  มีการเตรียมตัวล่วงหน้ามาอย่างดี

มีกลักเกณฑ์  ดังนี้  

1. กล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้มาเยือน

2. กล่าวสรรเสริญหรือยกย่องผู้มาเยือน

3. แสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสต้อนรับ

4. ขออภัยหากมีสิ่งใดบกพร่อง และหวังว่าผู้มาเยือนคงกลับมาอีก

 

 

การกล่าวในการเข้ารับตำแหน่ง

 

ผู้ที่ได้รับตำแหน่งใหม่ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นหัวหน้า ควรจะเรียกผู้ใต้บังคับบัญชามาประชุมกัน เพื่อแถลงนโยบาย

และแผนงานการดำเนินงาน  ตลอดจนความรู้ความคิดของผู้เข้ารับตำแหน่งใหม่ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

การกล่าวอวยพรงานมงคลสมรส

 

1. รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับเชิญมากล่าวคำอวยพร

2. กล่าวถึงความสัมพันธ์ของผู้พูดกับคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย โดยเน้นถึงความดี ความงามของคู่สมรส

3. กล่าวแสดงความยินดีที่ทั้งสองได้สมรสกัน และเป็นคู่ครองที่เหมาะสม

4. กล่าวให้ข้อคิดในการครองเรือนของคู่สมรส

5. กล่าวอวยพรโดยการชักชวนให้ดื่มแสดงความยินดี

 

 การกล่าวอวยพรงานวันเกิด

 

1. กล่าวแสดงความยินดีที่ได้รับเกียรติให้ขึ้นมากล่าวอวยพร

2. กล่าวถึงความสัมพันธ์ของผู้พูดต่อเจ้าภาพ

3. กล่าวถึงคุณความดีและเกียรติคุณ หรือผลงานเด่น ของเจ้าภาพ

4.กล่าวอวยพรให้เจ้าภาพมีอายุยืนยาวนาน มีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น

 

การกล่าวตอบคำอวยพร

     ผู้ที่ได้รับการอวยพรควรจะกล่าวตอบขอบคุณ เพื่อแสดงมารยาทอันดีงามน้อมรับคำอวยพรนั้น  มีแนวกว้าง ๆ คือ

การกล่าวไว้อาลัย

การกล่าวอำลา

จัดทำโดย  

  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ  อำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดสุรินทร์  32170  โทร. 044 - 569213
ศรายุทธ บูรณ์เจริญ    ผู้อำนวยการ     srayudhb@hotmail.com  , srayudhb@mweb.co.th , srayudh@chaiyo.com
สาวิยะ  พันธ์ฤทธิ์   บรรณารักษ์  sawiyap@chaiyo.com น.ส.ชนัญชิดา   ทองคำ  chida.cha@chaiyo.com
 นงเยาว์   สมนาค somnak@hotmail.com