what.gif (4683 bytes)      barslider.gif (11170 bytes)

 musica6.gif (538 bytes)  [ กลับไปหน้าแรก  ]  [ webmaster ] updated.gif (1754 bytes)

มารยาทในอิริยาบทต่าง ๆ ตามแบบอย่างในวัฒนธรรมไทย  เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมไทยที่จะต้องทราบและปฏิบัติให้ถูกต้องกลมกลืนกับคนอื่นในงานพิธีต่าง ๆ ซึ่งมีแบบเฉพาะที่ต้องปฏิบัติในเวลาของศานพิธีและพิธีอย่างอื่น   คลิกได้ที่นี่ครับ.

การยืน

การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์หรือพระมเหสี  ควรแสดงต่างกันสำหรับชายหญิงคือ

สำหรับชาย

สำหรับหญิง

  •   สวมหมวกเครื่องแบบ  ยืนตรง  แล้วกระทำวันทยหัตถ์

  •   ไม่ได้สวมหมวก  ยืนตรง หันหน้าไปทางพระองค์ท่านแล้วถวายคำนับ 

  • การถวายคำนับให้ก้มศีรษะส่วนใหล่ลงช้า ๆ ต่ำพอสมควร กระทำครั้งเดียว แล้วยืนตรง   อย่าผงกศีรษะเร็วเกินไป

  • ถ้าสวมหมวกอื่นที่ไม่ใช่เครื่องแบบ  ต้องถอดหมวกก่อนถวายคำนับ

 

 

  •   ยืนตรงเท้าชิด หันหน้าไปทางพระองค์ท่าน

  • ชักเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปทางหลัง 

  •  โดยวาดปลายเท้าไปอีกด้านหนึ่งของเท้าที่ยืน     ทำพร้อมกับย่อเข่าอีกข้างหนึ่งลงช้า ๆ

  •  เมื่อจวนจะต่ำสุด ให้ยกมือทั้งสองขึ้น วางประสานกันบนหน้าขาข้างที่ย่อต่ำลง (หน้ามือประสานกัน) ให้ค่อนไปทางเข่า (ถ้าไม่ได้ถือของทั้งสองมือ)

  •  ก้มศีรษะลงเล็กน้อย

  •  เงยศรีษะขึ้นพร้อมกับชักเท้าที่ไขว้กลับที่เดิม และตั้งเขาตรง

การเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

        มีข้อปฏิบัติในการเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท  

        1. การเข้าเฝ้าเมื่อเสด็จพระราชดำเนิน  เมื่อเสด็จพระราขดำเนินผ่าน จะเป็นโดยประทับยานพาหนะหรือเสด็จพระราชดำเนินก็ตาม  จะต้องถวายความเคารพ  จะทำโดยวิธีใด ๆ สุดแต่ผู้เฝ้า ฯ เฝ้า ฯ โดยการนั่งหรือยืน  แต่ให้เลือกถวายความเคารพได้ในวิธีที่เหมาะสม   จะเป็นยืนตรงถวายความเคารพตามเพศ  วันทยหัตถ์  กราบหรือไหว้  แต่ไม่นิยมใช้ทำตามความนิยมทางตะวันตก  เช่น โบกมือ  เป็นต้น

           1.1 ถ้าเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์  ให้ยืนตรงถวายคำนับ  หรือ วันทยหัตถ์   หรือกราบหรือไหว้  ตามความเหมาะสมของสถานที่และการแต่งกาย

           1.2 ถ้าเสด็จพระราชดำเนินโดยลาดพระบาท  นิยมการนั่งเฝ้า ฯ หรือยืนเฝ้า ฯ ก็ได้ ให้ห่างจากลาดพระบาทพอสมควร  ถ้ายืนเฝ้า  เมื่อเสด็จพระราชดำเนินผ่าน ก็ถวายความเคารพตามเพศ  ถ้านั่งเฝ้า ฯ เมื่อเสด็จมาใกล้ ผู้เฝ้า ฯ หมอบขณะเสด็จ ฯ ก้มตัวกราบ  แล้วหมอบอยู่จนเสด็จ ฯ ผ่านไปแล้ว จึงลุกขึ้นนั่ง  หรือเพียงแต่กราบเมื่อเสด็จ ฯ ผ่านเท่านั้น ก็ไม่ผิด. 

      2. การเข้าเฝ้า ฯ ในงานที่นั่งเก้าอี้หรือยืนเฝ้า  เมื่อเส็จพระราชดำเนินถึงผู้เฝ้า ฯ ลุกขึ้นหันไปทางพระองค์  เมื่อเสด็จพระราชดำเนินผ่านถวายคำนับ  และในกรณีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี  ต้องยืนจนจบเพลงแล้วถวายคำนับ  แล้วจึงนั่ง

      3. การเฝ้า ฯ ในที่รโหฐาน  ควรเข้าเฝ้า ฯ ตามประเพณีไทย คือ  คลาน  หมอบกราบ เพราะเป็นการเฝ้า ฯ ภายใน  ไม่เป็นพิธีการ  และเมื่อจะเข้าเฝ้า ควรถอดรองเท้า  โดยปฏิบัติตามลำดับ  ดังนี้

      4. การเข้าเฝ้า ฯ รับพระราชทานของ   

          การเข้าเฝ้าพระราชทานของ เป็นพิธีการใช้เดิน และย่อตัวรับพระราชทาน  แต่แบบไทยหรือพระราชสำนัก  หรือการเข้าเฝ้า

         ฯ รับพระราชทานของโดยไม่เป็นพิธีการ  ควรคลานและหมอบ  ดังนี้

          4.1 เข้าเฝ้า ฯ รับพระราชทานของ   มีลำดับการปฏิบัติ  ดังนี้

         4.2 เข้าเฝ้า ฯ รับพระราชทานของตามประเพณีไทย  มีลำดับการปฏิบัติ  ดังนี้

         4.3 การเข้าเฝ้า ฯ  ทูลเกล้า ฯ  ถวายของแบบพิธีการ  มีลำดับการปฏิบัติ ดังนี้

          4.4 การเข้าเฝ้า ถวายดอกไม้ธูปเทียน   

               (1)  ใช้ในกรณีทูลลาอุปสมบท ลาไปต่างประเทศ 

               (2)  ธูปเทียนใช้ธูปเทียนแพขนาดกลางขึ้นไป จัดธูปไว้บน เทียนไว้ล่าง 

                     บนแพธูปเทียนนวางกระทงดอกไม้ซึ่งมีกรวยปิด  ทั้งหมดนี้วางบนพานซึ่งมีไม้แผ่นรองอยู่ 

                     เวลายกพานหรือวางพานให้ปลายธูปเทียนอยู่ด้านซ้ายมือของผู้ถือ  

                (3) การเข้าเฝ้า ฯ มีลำดับการปฏิบัติ ดังนี้

วิธีแสดงความเคารพพระ

การแสดงความเคารพพระ มี 3 วิธี  คือ

     1. ประนมมือ  ตรงกับภาษาบาลีว่า  อัญชลี  คือการกระพุ่มมือทั้งสองประนมให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน  นิ้วทุกนิ้วของมือทั้งสองแนบชิดตรงกัน ไม่มีการเหลื่อมล้ำกว่ากันหรือกางให้ห่าง  ตั้งกระพุ่มมือประนมด้วยอาการนี้ไว้ในระหว่างอก  ให้ตั้งตรงขึ้นข้างบน  มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม  แนบศอกทั้งสองข้างชิดชายโครง  ไม่ให้กางออกไป   เป็นการแสดงความเคารพเวลาสวดมนต์ หรือฟังพระสวดพระเทศน์ แสดงอาการเดียวกันทั้งชายทั้งหญิง

     2. ไหว้  ตรงกับภาษาบาลีว่า  วันทา คือการยกมือที่ประนมแล้วขึ้นพร้อมกับก้มศรีษะลงเล็กน้อย  ให้มือประนมจรดหน้าผาก  นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว  ใช้แสดงความเคารพ ในขณะนั่งเก้าอี้หรือยืนอยู่  ไม่ใช่นั่งราบกับพื้น แสดงอาการเดียวกันทั้งชายทั้งหญิง

     3. กราบ  ตรงกับภาษาบาลีว่า  อภิวาท  คือแสดงอาการกราบกับพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์  ได้แก่กราบทั้งองค์ 5 ให้หน้าผาก 1 ฝ่ามือ 2 เข่า 2 จรดพื้น  เมื่อกราบอย่างนี้พึงนั่งคกเข่า เป็นอันว่าเข่าจรดพื้นแล้ว  พึงประนมมือไหว้  แล้วหมอบลง  ทอดฝ่ามือทั้งสองที่พื้น แหวกช่องว่างฝ่ามือที่วางราบให้ห่างกันเล็กน้อย  ก้มศรีษะลงตรงช่องนั้นให้หน้าผากจรดพื้น

วิธีกราบุคคลและวิธีกราบศพ

  1. การกราบบุคคลและการกราบศพ  กราบด้วยวิธีกระพุ่มมือ  กราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ  มีวิธีปฏิบัติ  ดังนี้

  2. หากบุคคลหรือศพอาวุโสกว่าให้ประนมมือไหว้ขึ้น  ให้ปลายนิ้วมือจรดจมูกก็ได้  หรือจะให้ปลายนิ้วมือจรดอยู่ระหว่างคิ้ว  หัวแม่มืออยู่ระหว่างคิ้วก็ได้ ถ้าคนเสมอกันประนมมือขึ้นแค่ระหว่างอกก็พอ

  3. นั่งพับเพียบเก็บเท้า  ตามแบบนั่งพับเพียบหรือจะใช้วิธีหมอบกราบก็ได้

  4. หมอบลงตามแบบหมอบ.

  


จัดทำโดย  

ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ  อำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดสุรินทร์  32170  โทร. 044 - 569213
ศรายุทธ บูรณ์เจริญ     ผู้อำนวยการ     srayudhb@hotmail.com  , srayudhb@mweb.co.th , srayudh@chaiyo.com ชนัญชิดา   ทองคำ     chida.cha@chaiyo.com
นงเยาว์   สมนาค  nsomnak@hotmail.com