[กลับไปหน้าแรก]

    ผู้ขอพระราชทาน ต้องทำหนังสือยื่นต่อสำนักราชเลขาธิการ  เพื่อให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ  ดังนี้

หลักเกณฑ์การขอพระราชทาน

        1. ประเภท  ก. พระราชทานพระราชหัตถเลขาขนานชื่อ  และสมาทองพระปรมา๓ิไทยย่อ ภ.ป.ร.  ได้แก่บุคคล  ดังต่อไปนี้

            1.1 โอรสและธิดาของพระราชวงศ์  และตั้งแต่ชั้นหม่อมหลวงขึ้นไป

            1.2 บุตรและบุตรีของข้าราชการพลเรือนในพระองค์  ลูกจ้างประจำ  ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนและรายวัน  สังกัดสำนักราชเลขา  และสำนักพระราชวัง  ที่มีเวลารับราชการไม่น้อยกว่า  5  ปี  โดยผู้บังคับบัญชารับรอง

           1.3 บุตรและบุตรีของนางสนองพระโอษฐ์และคุณข้าหลวงกับบุตรและบุตรีของผู้ที่เคยเป็นพระนางกำนัล

         1.4 บุตรและบุตรีของคู่สมรสที่ทรงประกอบพิธี สมรสพระราชทาน

         1.5  บุตรและบุตรีของผู้ที่ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล

         1.6  บุตรและบุตรีของนายทหารราชองครักษ์พิเศษ  นายตำรวจราชสำนักพิเศษ  นายทหารราชองครักษ์ประจำ  นายตำรวจราชสำนักประจำ  นายทหารราชองครักษ์เวรและนายตำรวจราชสำนักเวร

          1.7  บุตรและบุตรีของข้าราชการทหารประจำกรมราชองครักษ์  และข้าราชการทหารแผนกรัษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญประจำกรมราชองครักษ์  ที่มีเวลารับราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ในสังกัดหรือหน่วยงานดังกล่าวไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยผู้บังคับบัญชารับรอง

           1.8  บุตรและบุตรีของข้าราชการทหาร  สังกัดกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์  ที่มีเวลารับราชการในสังกัดไม่น้อยกว่า  5  ปี  โดยผู้บังคับบัญชารับรอง

           1.9  บุตรและบุตรีของพนักงานสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่มีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยผู้บังคับบัญชารับรอง

           2.0  บุตรและบุตรีของบุคคลที่นอกเหนือที่กล่าวข้างต้น  ซึ่งจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  พระราชทานเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย

      3.  ประเภท ข.  พระราชทานชื่อและเสมาเงินพระปรมาภิไธยย่อ  ภ.ป.ร.

          3.1  ได้แก่บุตรและบุตรีของบุคคลทั่วไปที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ประเภท  ก.

      4.    เด็กที่ขอพระราชทานชื่อ  ต้องมีอายุไม่เกิน  6  เดือน  สำหรับผู้อยู่ในประเทศ และไม่เกิน 1 ปี สำหรับผู้อยู่ต่างประเทศ  โยให้มีเอกสารประกอบการพิจารณาดังนี้

         4.1  ใบสำคัญการสมรสของบิดาและมารดาของเด็กที่ขอพระราชทานชื่อพร้อมด้วยสำเนา

         4.2   สูติบัตรขงเด็กที่ขอพระราชทานชื่อ  พร้อมด้วยสำเนา

         4.3  สำเนาทะเบียนบ้าน

         4.4  หนังสือรับรองเวลารับราชการของผู้บังคับบัญชา  ระดับ ๕ ขึ้นไปในกรณีผู้ขอพระราชทานเป็นข้าราชการ  หรือลูกจ้างทุกประเภท

ให้เจ้าหน้าที่ที่ตรวจสอบเอกสารดังกล่าวทุกรายการ  เมื่อเป็นการถูกต้องและครบถ้วน ก็คืนเอกสารทุกฉบับแก่ผู้ขอพระราชทาน  คงใช้แต่สำเนาเอกสารแนบเรื่องเพื่อประกอบการพิจราณาดำเนินการ  หากสูติบัตรของเด็กที่พระราชทานชื่อ  ปรากฏชื่อตัวที่มีตัวสะกดตั้งแต่สองพยางค์ขึ้นไป  และมีความไพเราะเหมาะสม  หรือมีความหมายดีอยู่แล้ว ก็ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบตามวิธีการคิดชื่อว่าเป็นชื่อที่มีอักษรใดเป็นกาลกิณีหรือไม่ ประกอบพระราชดำริด้วย

      5.  การขอพระราชทานเปลี่ยนชื่อ  ให้เจ้าหน้าที่พิจารณาเหตุผลการขอพระราชทานทุกราย  เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาประกอบพระราชดำริ

         5.1  ผู้ขอพระราชทานเปลี่ยนชื่อที่มีอายุยังไม่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานชื่อ ให้อยู่ในหลักเกณฑ์ประเภท ข. 

         5.2 ผู้ขอพระราชทานชื่อที่มีอายบรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานชื่อ  ให้มีหนังสือเชิญชื่อพระราชทานเพียงประการเดียว.   

[กลับไปหน้าแรก]

         


 ที่มา : ระเบียบสำนักราชเลขาธิการ  ว่าด้วยการขอพระราชทานชื่อบุตรและบุตรี พ.ศ.2522  

 

Copyright  16   november  2001

จัดทำโดย  

 

  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ  อำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดสุรินทร์  32170  โทร. 044 - 569213
ศรายุทธ บูรณ์เจริญ  : ผู้อำนวยการ srayudhb@hotmail.com , srayudhb@mweb.co.th , srayudh@chaiyo.com
สาวิยะ  พันธ์ฤทธิ์  
บรรณารักษ์  sawiyap@chaiyo.com

ชนัญชิดา   ทองคำ  chida.cha@chaiyo.com
นงเยาว์   สมนาค  nmailto:samnaksripsa@catcha.com

ศักดิ์ชัย สาพิมพา