[ กลับไปหน้าแรก ]

นำเสนอปฏิทินทั้ง  สุริยคติ  จันทรคติ  เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ 

สามารถนำไปใช้ในการเทียบ  วัน  เดือนปี ได้อย่างดี  ปฏิทินในเมืองไทย  มีใช้กันอยู่  2  แบบ 

                      คลิกได้ที่นี่.

                                 

        1. สุริยคติ  คือปฏิทินที่นับตามการโคจรของดวงอาทิตย์ 

         2. จันทรคติ  คือปฏิทินที่นับตามการโคจรของดวงจันทร์ 

             สุริยคติ                              

            สุริยคติ  คือ  ปีางสุริยคติ มี  12  เดือน    ดังนี้  คือ

                           1. มกราคม  (มี  31  วัน)                               2. กุมภาพันธ์  มี  28 ,  29 วัน)

                           3. มีนาคม   (มี  31  วัน)                               4. เมษายน  (มี 30 วัน)

                           5. พฤษภาคม   (มี  31  วัน)                          6. มิถุนายน  (มี 30 วัน)

                           7. กรกฎาคม  (มี  31  วัน)                             8. สิงหาคม  (มี  31  วัน)

                           9. กันยายน  (มี 30 วัน)                                10. ตุลาคม  (มี  31  วัน)

                         11. พฤศจิกายน  (มี 30 วัน)                          12. ธันวาคม  (มี  31  วัน)

            การนับแบบสุริยคติ               

              การนับแบบสุริยคติ  นั้น ในช่วงระละเวลา 4 ปี  จะเป็น  ปี  อธิกสุรทิน  

                     คือปีนั้นจะมี 366  วัน  ในเดือนกุมภาพันธ์  จะมี 29  วัน  ตามปกติธรรมดา  เดือนนี้

                          จะมีเพียง 28 วันเท่านั้น  เราเรียกว่า ปกติสุรทิน  เมื่อปีใดเป็นปี อธิกสุรทิน แล้ว

                           ปีถัดไปมักเป็นปี  อธิกมาศ  คือจะมีเดือน  8 สอง 8  ( 8 สองหน)

                     แต่ละในช่วง 3 เข้า 4 ปี  ถ้าต้องการจะรู้ว่า  เป็นปี อธิกสุรทิน

                           ให้เอาจำนวนเลขปี ค.ศ.  ตั้ง  หารด้วย  4  ถ้าไม่มีเศษ  ปีนั้นจะเป็นปี อธิกสุรทิน  

                      หรือถ้าเอาเลขปี ค.ศ.ตั้ง หารด้วย  100  ไม่มีเศษ กับเอา  4  หารอีก  กลับมีเศษ

                           ปีนั้นมิใช่ปี  อธิกสุรทิน  ถ้าปีใดเป็นปีปกติสุรทิน    ปีนั้นในเดือนกุมภาพันธ์จะมี  28  วัน

             จันทรคติ                           

              จันทรคติ   คือการนับปีแบบไทยโบราณ  โยมีการใช้นับเดือนเมษายน

                    ในช่วงวันที่ 13 - 14 - 15 เมษายน  ของทุกปี เป็นวันสงกรานต์ วันเนาว์ และวันเถลิงศก

                    เป็นวันปีใหม่แบบไทยโบราณ  มีการเรียกเดือนว่า

                    เดือน 5    เรียกว่า    เดือน 5      หรือ  จิตรมาส

                    เดือน 6    เรียกว่า    เดือน 6      หรือ  วิสาขมาส

                    เดือน 7    เรียกว่า    เดือน 7      หรือ  เชษฐมาส

                    เดือน 8    เรียกว่า    เดือน 8      หรือ  อาสาหมาส

                    เดือน 8 แรก   เรียกว่า เดือน 8  หลัง    หรือ  อุตรสามาส (เดือน 8 สอง 8 หรือ 8 สองหน)

                เดือน 9    เรียกว่า    เดือน 9        หรือ  สาวนมาส

                    เดือน 10   เรียกว่า    เดือน 10      หรือ  ภทัรปทมาส

                    เดือน 11   เรียกว่า    เดือน 11      หรือ  อสยุชมาส

                    เดือน 12   เรียกว่า    เดือน 12      หรือ  กติกมาส

                    เดือน 1    เรียกว่า    เดือน อ้าย    หรือ  มิคศิรมาส

                    เดือน 2    เรียกว่า    เดือน ยี่         หรือ  ปุสยมาส

                    เดือน 3    เรียกว่า    เดือน 3         หรือ  มาฆมาส

                    เดือน 4    เรียกว่า    เดือน 4         หรือ  ผคุณมาส

           วาร          มายถึง  วัน  ซึ่งได้แก่วันที่  7  ในสัปดาห์

                            เลข  1      วัน   อาทิตย์       หรือ    อาทิจวาร

                            เลข  2      วัน   จันทร์          หรือ    จันทรวาร

                            เลข  3     วัน    อังคาร         หรือ    ภุมวาร

                            เลข  4      วัน   พุธ              หรือ    วุธวาร

                            เลข  5      วัน   พฤหัสบดี     หรือ    ชีววาร

                            เลข  6      วัน   ศุกร์             หรือ    สุกรวาร

                            เลข  7      วัน   เสาร์            หรือ    โสรวาร

           ปี   หมายถึง  ปีนักษัตร  

        ตำนานนักษัตรไทยตั้งแต่สมัยพุทธกาล  ครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงเชิญสัตว์ต่างๆ มาร่วมงานเลี้ยงก่อน  12 ตัวแรกก็จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสัญลักษณ์ ของปี  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีนักษัตรทั้ง 12 เกิดขึ้น
        สัตว์ต่างๆ จึงพากันยินดี และต้องการที่จะได้เป็นสัญลักษณ์ประจำปีด้วยกันทั้งสิ้นจึงต่างเร่งฝีเท้ากันอย่างเต็มที่และบรรดาสัตว์ต่างๆ มากมายหลายชนิด มีเจ้าหนูตัวเล็กรวมอยู่ด้วย
        ขณะที่หนูเป็นสัตว์ตัวเล็ก  แต่ทว่ามีความใฝ่ฝันทะเยอทะยานอยากจะมีชื่อเริ่มต้นอยู่ในปีนักษัตรด้วยเช่นกัน  แม้จะรู้ตัวดีว่าหากวิ่งแข่งกับสัตว์อื่นซึ่งมีขนาดใหญ่และมีพละกำลังมากกว่าเจ้าหนูคงต้องกินฝุ่นจนเต็มพุงและไม่วายถูกสัตว์ใหญ่เหยียบ  มันจึงเกิดแผนด้วยการกระโดดเกาะหางวัวใหญ่ที่มีกำลังวิ่งอย่างเต็มที่ กระทั่งแซงหน้าสัตว์อื่นๆ ไปอย่างรวดเร็วจวบจนใก้ลถึงเส้นชัย 
        วัวหนุ่มนึกดีใจนึกว่าชัยชนะครั้งนี้เป็นของมันอย่างแน่แท้  แต่แล้วทันใดนั้นหนูน้อยกลับกระโดดวิ่งขึ้นไปบนหลังวัวแล้ว  ถีบตัวลอยละลิ่วก้าวสู่เส้นชัยเป็นตัวแรกท่ามกลางความงงงวยของบรรดาสัตว์ทั้งหลายที่วิ่งตามกันมา ไม่ว่าจะเป็นเสือ  กระต่าย มังกร (งูใหญ่)  งู  ม้า  แพะ  ลิง  ไก่  สุนัขหรือแม้แต่สัตว์ตัวสุดท้ายที่วิ่งเข้าเส้นชัยด้วยความอุ้ยอ้ายอย่างหนู  เรียงตามกันมาและปรากฏเป็นปีนักษัตรทั้ง  12  ขึ้น

                      1. ปีชวด  (หนู)                   2. ปีฉลู  (วัว)

                      3. ขาล  (เสือ)                    4. เถาะ  (กระต่าย)

                      5. มะโรง  (งูใหญ่)              6. มะเส็ง  (งูเล็ก)

                      7. มะเมีย  (ม้า)                   8. มะแม  (แพะ)

                      9. วอก (ลิง)                      10. ระกา  (ไก่)

                     11. จอ  (หมา)                    12.  กุน  (หมู)

         ศก  หมายถึง  การลำดับปีทางจันทรคติ ครั้งละ  10  ปี  ครบ  6  ครั้ง  ถือว่า  เป็น  1  รอบ  คือ

                                เอกศก    โทศก    ตรีศก     จัตวาศก   เบ็ญจศก      

                         ฉอศก   สัปตศก    อัฏศก   นพศก   สัมฤทธศก

         ปกติวาร        หมายถึง  เดือน  7  จะมีเพียงแรม  14  ค่ำ  ในเดือนกุมภาพันธ์  จะมี  28  วันปกติ

         อธิกวาร        หมายถึง  ปีทางจันทรคติ  ในเดือน  7  จะมีข้างแรมถึง  15  ค่ำ เต็ม  30  วัน

         ปกติมาส       หมายถึง  ปีปกติที่มีครบ  12  เดือน  คือปีที่ไม่มี เดือน 8 สอง 8 หรือเดือน 8 สองหน

         อธิกมาส       หมายถึง  ปีนั้นที่มีเดือน 8 สอง  8  ในปีนั้นจะมี  13  เดือน 

                             ข.  ใช้แทนคำว่า   ข้างขึ้น   หรือ  สุกรปักษ์

                                     ร.  ใช้แทนคำว่า   ข้างแรม   หรือ  กาฬปักษ์

  หลักการเทียบศักราช

          1. ค.ศ.    (ครีสตศักราช)         น้อยกว่า   พ.ศ.     543  ปี

          2. ม.ศ.    (มหาศักราช)           น้อยกว่า   พ.ศ.     621  ปี

          3. จ.ศ.    (จุลศักราช)              น้อยกว่า   พ.ศ.   1181  ปี

          4. ร.ศ.     (รัตนโกสินทร์ศก)    น้อยกว่า   พ.ศ.   2342  ปี

    ตัวอย่างการเทียบ   ให้ยึด พ.ศ.  เป็นหลัก  ดังนี้

          1. จะทำ  ค.ศ.  ให้เป็น พ.ศ.  เอา  543  บวก  ค.ศ. 

            จะทำ  พ.ศ.  ให้เป็น ค.ศ.  เอา  543   ลบ    พ.ศ.

          2. จะทำ  ม.ศ.  ให้เป็น พ.ศ.  เอา  621  บวก  ม.ศ.

              จะทำ   พ.ศ.   ให้เป็น ม.ศ.  เอา  621   ลบ    พ.ศ.

          3. จะทำ  จ.ศ.   ให้เป็น พ.ศ.  เอา  1181  บวก  จ.ศ.

              จะทำ   พ.ศ.   ให้เป็น จ.ศ.  เอา  1181   ลบ    พ.ศ.

          4. จะทำ  ร.ศ.    ให้เป็น พ.ศ.  เอา  2324  บวก  ร.ศ.

              จะทำ   พ.ศ.   ให้เป็น ร.ศ.  เอา  2324   ลบ   พ.ศ.

 

Copyright  16   november  2001

จัดทำโดย  

 

  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ  อำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดสุรินทร์  32170  โทร. 044 - 569213
ศรายุทธ บูรณ์เจริญ  : ผู้อำนวยการ srayudhb@hotmail.com , srayudhb@mweb.co.th , srayudh@chaiyo.com
สาวิยะ  พันธ์ฤทธิ์  
บรรณารักษ์  sawiyap@chaiyo.com

ชนัญชิดา   ทองคำ  chida.cha@chaiyo.com
นงเยาว์   สมนาค  nmailto:samnaksripsa@catcha.com