what.gif (4683 bytes)          barslider.gif (11170 bytes)

 musica6.gif (538 bytes)  [ กลับไปหน้าแรก  ]  [ webmaster ] updated.gif (1754 bytes)

พิธีมงคล

            พิธีมงคล  มีดังต่อไปนี้


พิธีแต่งงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

               การแต่งงาน ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า "กินดอง" คือ มีความหมายว่า จะต้องเป็นวงคณาญาติต่อไปในการข้างหน้า ประเพณีนี้เป็นประเพณีรักระหว่างชายหนุ่มและฝ่ายหญิงสาวที่สมัครรักใคร่จะเป็นสามีภรรยากันคือเริ่มต้นแต่มี "ประเพณีกินดอง " การสู่ขอ การหมั้น และการแต่งงาน

               ประเพณีกินดอง เช่นในจังหวัดขอนแก่น พิธีนี้ฝ่ายชายจะขึ้นบนเรือนของหญิงตามลำพังสองต่อสองในยามค่ำคืน ในขณะที่กำลังสนทนากันอยู่นั้น ผู้หญิงจะถือโอกาสทำงานไปด้วย เช่น ปั่นฝ้าย กรอไหมและทอเสื่อเป็นต้น จนกระทั่งทั้งสองมีความพึงพอใจซึ่งกันและกัน จนถึงขั้นพิธีสู่ขอ

               การสู่ขอ ภาษาพื้นเมืองเรียกกันว่า "การขอเมีย " คือนับตั้งแต่เมืองชายหญิงรักใคร่ตกลงปลงใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขเป็นสามีรรยากันฝ่ายชายก็จะบอก กล่าวพ่อแม่ให้จัดญาติผู้ใหญ่เป็นเถ้าแก่และพ่อล่ามอีกคนหนึ่ง ถือดอกไม้ธูปเทียนไปร้องขอต่อพ่อแม่ของฝ่ายหญิงที่บ้าน เพื่อให้เป็นที่ตกลงกัน

               วันแต่งงานที่นิยมกันก็คือวันใดวันหนึ่งในเดือนคู่ข้างขึ้นคือ วันที่ 2,4 และ 6 เดือนยี่ 4,6 และ 12 เว้นแต่เดือนในระหว่างเข้าพรรษา คือ เดือน 8 - 11 ธรรมเนียมแต่งงานกัน

               เมื่อได้ฤกษ์กำหนดนัด หากเป็นที่ตกลงในเรื่องสินสอดทองหมั้นซึ่งเรียกว่า " ค่าดอง " แล้วก็กำหนดวันแต่งงานกันเลยที่เดียวแต่ถ้าตกลงในเรื่องสินสอด กันไม่ได้ก็จะต้องเพียรต่อรองกันอีก ในรายที่ตกลงกันเรียบร้อยแล้วก็จะต้องมีการหมั้นหรือไม่ต้องหมั้นก็ได้ นั้นคือ ในระหว่างที่รอพิธีการแต่งงาน

               พิธีแต่งงานนั้น จะต้องเริ่มก่อนวันกำหนดแต่งจริงที่บ้านหญิงโดยกำหนด " วันมื้อเต้า " เป็นวันเตรียมสิ่งของถัดไปอีกวันหนึ่งเป็น
" วันมื้อ โฮม" บางแห่งเรียก " มื้อสุกดิบ " วันนี้ญาติพี่น้องจะมาพร้อมกันและช่วยกันเตรียมงาน

พิธีแต่งงาน ภาคใต้

               ประเพณีนี้ เป็นประเพณีเก่า ตั้งเดิมของชาวพื้นภาคใต้แห่งเมืองพัทลุง ได้เล่าว่านับตั้งแต่เวลาที่เถ้าแก่ฝ่ายชายไปสู่ขอหรือ ไปทาบทามฝ่ายหญิงซึ่งเรียก ตามภาษาพื้นเมืองเรียกว่า " แยม " เมื่อเป็นที่ตกลงกันเรียบร้อยแล้วก็กำหนดวันแต่งงานในระหว่างที่ ตกลงและยังไม่แต่งงานกันนี้ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า " ฝากเหมรอ " ผู้ชายมีสิทธิไปมาหาสู่พบปะกันได้

               เมื่อถึงกำหนดแต่งงาน ฝ่ายเจ้าบ่าวก็จะยกขันหมากจากบ้านของตนไปยังบ้านเจ้าสาว เจ้าบ่าวนิยมนุ่งผ้าโจงกระเบน เหน็บฤกษ์หัวเงินไข้วหลังหมวดกับหางกระเบนเมื่อถึงหัวบันใดเรือนเข้าสาวก็จะมีการมาล้างเท้าให้แล้วก็จะมีผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวออกมารับจูงมือเข้าไปหาเจ้าสาวภายในบ้าน

              ก่อนจะเข้าห้องเจ้าสาว ก็จะมีการกั้นประตูสอบถามเจ้าบ่าวตามประเพณี และผู้กั้นประตูก็จะไม่ปล่อยให้เจ้าบ่าวเข้าห้องเจ้าสาว จนกว่าจะได้รับรางวัลแล้วจึงเข้าไปได้ครั้นแล้วเจ้าบ่าวและเจ้าสาวออกมาพบผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายเจ้าบ่าวก็ไหว้ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาว แล้วเจ้าสาวก็ไหว้ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าวเป็นการตอบแทน

การขึ้นบ้านใหม่

               ประเพณีปลูกบ้านใหม่ ชาวพื้นเมือง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมปลูกบ้านหรือเรือนหมู่ คือผู้หญิงที่แต่งงานกันแล้วก็ปลูกเรือนรวมอยู่ในบ้านเดียวกัน ประเพณีการปลูกบ้านไม่ว่าจะเป็นเรือนหด หรือบ้านอยู่อาศัยธรรมดานั้น จะต้องหาฤกษ์หายามเสียก่อน คือ เมื่อได้กำหนดแน่นอนแล้ว ก็ไปบอกญาติพี่น้องให้มาช่วยกันปลูกเรือนหรือปลูกบ้านให้

              อนึ่งการปลูกบ้านและขึ้นบ้านใหม่นิยมปลูกกันในเดือนข้างขึ้นและให้เป็นเดือนคู่ คือต้องเป็นระยะที่ออกพรรษาแล้วจึงจะอยู่เย็นเป็นสุข การทำบุญข้างแรมจะทำอะไรก็ไม่ค่อยเจริญ เช่น ทำการค้าขายไม่ค่อยจะขึ้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูเข้าพรรษา เขาถือว่าเป็นกาลกิณีผู้อยู่จะอยู่ไม่เป็นสุข ปกติโดยทั่ว ๆ ไปถือเอาระยะเดือน 6 เป็นเดือนที่นิยมปลูกกัน

              การจัดหาเสาปลูกบ้าน ก็ให้ต้องตามโฉลกของเสา มีการไหว้วานกันตัดเสา เครื่องปลูกสร้างทุกสิ่งทุกอย่างต้องเตรียมไว้ให้พร้อมเสร็จ การปลูกก็ต้องทำตามพิธีคือเริ่มแต่เอาเสาขึ้นจนสามารถเข้าไปอยู่อาศัยได้ การปลูกบ้านใช้วิธีลงแขก ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านได้มาช่วยกันอย่างพร้อมเพรียงกัน

จัดทำโดย : ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ  อำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดสุรินทร์  32170  โทร. 044 - 569213
ศรายุทธ บูรณ์เจริญ     ผู้อำนวยการ     srayudhb@hotmail.com  , srayudhb@mweb.co.th , srayudh@chaiyo.com
ชนัญชิดา   ทองคำ   chida.cha@chaiyo.com
 นงเยาว์   สมนาค    nsomnak@hotmail.com