what.gif (4683 bytes)  aniflower.gif (2347 bytes)aniflower.gif (2347 bytes)

barslider.gif (11170 bytes)

 musica6.gif (538 bytes)   [ กลับไปหน้าแรก ]   [ webmaster]updated.gif (1754 bytes)

 

               เรา มี วันสำคัญ  เกี่ยวกับ  ชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ  วันเทศกาลสำคัญ หรือ วันอนุสรณ์ประจำปี และเมื่อถึงวันสำคัญ  ราชการก็จะหยุดราชการ เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงาน รวมทั้งสถานศึกษา  ประกอบพิธีในวันสำคัญนั้น ๆ   วันสำคัญเหล่านี้มักทำกันเป็นประจำทุกปี  แต่มีคนไม่กี่คน  เอกสารไม่กี่เล่ม  ที่รวบรวมวันสำคัญไว้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์  เวบนี้จึงได้นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ แก่ ส่วนราชการ หน่วยงานและสถานศึกษา   เชิญชมได้แล้วครับ. 


aniflower.gif (2347 bytes)   พิธีพุทธภิเษก   aniflower.gif (2347 bytes)

          พระพุทธรูปเป็นจำลองของพระพุทธเจ้า สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 600 โดยกษัตริย์ของกรีกชื่อ เมนันเดอร์ หรือ พระยามิลินทร์ เจตนาในการสร้างครั้งแรก เพียงเพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่มีอินทรีย์ไม่แก่กล้า ไม่ว้าเหว่ได้ที่พึ่งทางใจครบ ถ้วนเมื่อกล่าวว่า พุทธัง สรณํง คัจฉามิ ก็จะได้เห็นพระพุทธรูป เป็นการสร้างเพื่อความรู้สึกได้ที่พึงเต็มเปี่ยมทางใจเท่านั้น มิใช่ สร้างเพื่อการค้า การสร้างครั้งนั้น ก็มีพิธีพุทธภิเษก 7 วัน 7 คืน  

          การประกอบพิธีพุทธาภิเษกนั้น   อาจารย์ไพบูลย์ ธาตุทอง (อ้างถึงใน สวิง บุญเจิม) ได้ให้คำแนะนำไว้  ดังนี้
     1. เครื่องใช้ในพิธี
          1.1. ราชวัติ 4  มุม
          1.2. ฉัตรขาว 7 ชั้น 4 คัน
          1.3. ต้นกล้วย 4 ต้น
          1.4. ต้นอ้อย 4 ต้น
                (สำหรับต้นกล้วยและต้นอ้อยนั้น ให้ตั้งไว้ในมุมราชวัติ)
          1.5. ด้ายสายสิญจน์ให้มากพอประมาณ
                     ด้ายสายสิญจน์ให้โยงตามยอดฉัตรที่มุมทำเป็นตรีนิสิงเห (ชื่อยันต์ชนิดหนึ่ง) นอกจากนั้นให้โยงไปทั่วบริเวณ
                 มณฑพิธี จะโยงเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือรูปอะไรก็ได้ แล้วแต่ถนัด
          1.6. โอ่งน้ำมนต์หรือโอ่งมังกร 6 ใบ  ให้แยกตามจุดต่าง ๆ ดังนี้
                      4 ใบ ให้ตั้งไว้ในมุมราชวัติ อีก 2 ใบ ให้ตั้งไว้สองข้างตู้เทียนชัยโอ่งน้ำมนต์แต่ละโ่อ่งให้โยงสายสิญจน์เป็นเส้นดิ่ง  
                  ตรงลงมามัดรอบที่คอโอ่งน้ำมนต์ไว้ทุกโอ่ง
          1.7. ผ้าขาวและฝ้ายขาวสำหรับห่อพระประธาน ถ้าเป็นพระบูชาขนาดเล็กไม่ต้องห่อผ้าขาว
                       การห่อพระประธานจะต้องห่อให้มิดชิดตั้งแต่เกศถึงฐาน ใช้ฝ้ายขาวที่เตรียมไว้มัดเป็น 3 ตอน หมายถึงตัณหาสาม
          1.8. กิ่งโพธิ์หนึ่งกิ่งสำหรับตั้งไว้ข้างหลังพระประธาน
          1.9. หญ้าคาแปดกำมือ เวียนรอบฐานพระประธาน
          1.10. ดอกบัวขาว 18 ดอก วางลงโอ่งน้ำมนต์โอ่งละ 3 ดอก 

     2. ธูปและเทียนในพิธี
           2.1. เทียนชัย 1 เล่ม สูงเท่าตัวเจ้าภาพ หรือสูงเท่าพระประธาน ใช้ผึ้งแท้น้ำหนักเท่าอายุเจ้าภาพ หรือเท่าพระชนมายุของ 
                  พระพุทธเจ้า เฉลี่ยปี่ละ 1 บาท ไส้เทียนนับให้ได้ 80 เส้น เท่าพระชนมายุของพระพุทธเจ้า เช่นกัน
           2.2. เทียนมงคลสูงเท่ากับความยาววัดโดยรอบศีรษะเจ้าภาพ ใช้ขี้ผึ้งหนักเล่มละ 9 บาท ใส่ไส้เล่มละ 45 เส้น 2 เล่ม ตั่งใส่
                  เชิงเทียนใหญ่วางลงตั้งไว้ในโอ่งน้ำมนต์ 2 ใบ ที่ตั้งอยู่สองข้างตู้เทียนชัย
           2.3.  เที
ยนวิปัสสี 2 เล่ม ความยาววัดเล่มละ 1 ศอก ไส้เทียน 45 เส้น ตั้งใส่เชิงเทียนวางไว้หลังตู้พระธรรมพร้อมแจกัน  
                   ดอกไม้ 1 คู่  กระถ่างธูป 1 กระถาง ธูปหอม 9 ดอก
           2.4.  เทียนนพเคราะห์ 9 เล่ม หนักเล่มละ 1 บาท ใส่เทียนผึ้งธรรมดาก็ได้ สำหรับจุดที่โต๊ะวางบวงสรวง
           2.5.  เทียนน้ำมนต์ 108 เล่ม ใส่พาน 4 ใบ แบ่งเทียนใส่พานสี่ใบเท่า  ๆ กันนำไปวางไว้ตามโอ่งน้ำมนต์ 4 ใบ เพื่อจุด
                   เวลาพระสงฆ์สวดพุทธาภิเษก  


     3. จำนวนพระภิกษุที่นิมนต์ในงานพุทธภิเษก
            ( 1.)  เจริญพระพุทธมนต์ 9 รูป
            ( 2.)  สวดพุทธาภิเษก 2  ชุด ชุดละ 4 รูป รวม 8 รูป
            ( 3.)  นั่งปรก 2 ชุด ชุดละ 4 รูป   
  

 

     4. บัตรพลีบูชาเทวดานพเคราะห์
           4.1. บัตรพลีจะต้องทำด้วยกาบกล้วยสด ใบตองสด 1 ที่ ทำเป็นสี่เสา โดยใช้ก้านกล้วยสดเอากาบกล้วยห่อรอบ แต่ละเสา
                  ใช้ไม้กลัดคัดให้แน่นทำเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นห่างกันประมาณ 4 นิ้ว ให้ลดหลั่นใหญ่เล็กขึ้นไปตามลำดับเหมือนรูปเจดีย์
                  แต่ละชั้นเอาใบตองสดปูเพื่อวางของ บัตรพระเกตุต้องทำ 9 ชั้น
            4.2. บัตรเทวดาอัฐทิศ 8 บัตร ทำเหมือนบัตรพระเกตุทุกประการ แต่ทำเพียงบัตรละ 3 ชั้นเท่านั้น
            4.3. บัตรพระภูมิ 1 บัตร ทำเป็นรูปสามเหลี่ยมกระบะ ซึ่งทางภาษาท้องถิ่นเรียกว่า กระทงหน้าวัว

            4.4. บัตรกรุงพาลี 1 บัตร ให้มีรูปเป็นสี่เหลี่ยมกระบะเหมือนกระทงสะเดาะเคราะห์แต่ไม่มีห้อง
                        ของที่จะใส่ในบัตรจะต้องเอาใบตองสดทำเป็นกระทงปากหนาม เหมือนขันหมากแก้วใส่หมากพลูถวายพระแล้ว

                   บรรจุอาหารคาว, หวาน, ขาวตอก, ถั่วคั่ว, งาคั่ว, นม, เนย หมากพลู แล้วนำไปบรรจุลงในบัตรพลีต่าง ๆ ให้ครบทุก

                   บัตร นอกจากนั้นยังมีธงหางสามเหลี่ยมเล็ก ๆ สี่ต่าง ๆ ติดคันแร้ว ปักตามบัตรพลีให้ครบทุกชั้น

                         สำหรับบัตรพลีต่าง ๆ เมื่อทำเสร็จ นำอาหารคาวหวานบรรจุเสร็จแล้วตั้งโต๊ะปูด้วยผ้าขาวไว้มุมข้างนอกราชวัติ 

                   นอกจากบัตรพลีแล้วจะต้องมีพานผลไม้ 2 พานใหญ่ ในพานนั้นประกอบด้วยผลไม้ 7 อย่าง เช่น กล้วยน้ำว้า มะพร้าว

                   อ่อน ส้มเขียวหวาน องุ่น สับปะรดและอื่น ๆ ยกเว้นละมุด ใส่พานยกขึ้นตั้งโต๊ะเดียวกันกับบัตรพลี นอกจากผลไม้

                   แล้วจะต้องมีขนมต้มขาว ขนมต้มแดง และขนมแห้งอีก 5 อย่าง ใส่พานวางไว้บนโต๊ะที่ปูผ้าขาวพร้อมบัตรพลีและ

                   พานผลไม้และบายศรีปากชาม 1 คู่ ใช้ไข่สุกปักยอดบายศรีให้สวยงามต้นละ 1 ฟอง

     

     5. ลำดับขั้นตอน

         หลังจากตระเตรียมของเสร็จแล้ว จะต้องเริ่มลำดับรายการ  ดังนี้

          5.1. ก่อนจะเจริญพระพุทธมนต์ เจ้าภาพหรือประธานในงาน จุดเทียนนพเคราะห์ที่โต๊ะบวงสรวง 9 เล่มและจุดธูปหอม 9 

                 ดอก ปักตามบัตรพลีและผลไม้ต่าง ๆ จนครบ

          5.2. จากนั้นให้พราหมณ์ประกอบพิธีฤกษ์ บูชานพเคราะห์ โดยกล่าวชุมนุมเทพ เริ่มตามลำดับ ดังนี้

                 - บวงสรวงสังเวย

                 - ไหว้ครู

                 - เรียกคาถา

                 - บูชาฤกษ์

                 - กล่าวคำประกาศเทวดา

          5.3. เจ้าภาพหรือประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย

          5.4. รับศีล 8

          5.5.  พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้ว

                  - พระสงฆ์นั่งปรกเข้าประจำที่

                  - พระพิธีธรรมเข้าประจำที่

          5.6. พราหมณ์อ่านโองการพุทธภิเษก จบแล้ว

          5.7. ประธานในพิธีจุดเทียนชัย เทียนมงคล และเทียนพุทธาภิเษก

                 ( พระพิธีธรรม 4 รูป สวดคาถาจุดเทียนชัย)

          5.8. จากนั้น พระสงฆ์ที่นิมนต์สวดพุทธาภิเษกก็จะเริ่มสวดพุทธาภิเษก จนได้เวลาอันสมควรแล้วก็หยุด ชีพราหมณ์ที่มา

                 ร่วมในพิธีก็เริ่มสวดพุทธคุณ ธรรมคุณและสังฆคุณ จนครบกำหนดกันไว้แล้วหยุด   พระสงฆ์ผู้สวดพุทธาภิเษกก็
                 จะสวด ต่อ ไปสลับกับบีพราหมณ์ จนจบ

        ถึงเวลาอันสมควร พระเถระผู้ประธานในการประกอบพิธี ก็จะดับเทียนชัยด้วยใบพลูเจ็ดใบเจ็ดใบ ตัดด้ายมงคล ตัดบ่วง โปรย

ข้าวตอกดอกไม้ ประพรมน้ำพุทธมนต์ เป็นเสร็จพิธีพุทธาภิเษก ในระหว่างดับเทียนนั้น ให้พระสงฆ์ที่สวดพุทธาภิเษกสวดคาถาดับ เทียนชัยจนจบเป็นเสร็จพิธี

 

    aniflower.gif (2347 bytes)aniflower.gif (2347 bytes)aniflower.gif (2347 bytes)aniflower.gif (2347 bytes)aniflower.gif (2347 bytes)
        

จัดทำโดย  

  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ  อำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดสุรินทร์  32170  โทร. 044 - 569213
ศรายุทธ บูรณ์เจริญ    ผู้อำนวยการ     srayudhb@hotmail.com  , srayudhb@mweb.co.th , srayudh@chaiyo.com
สาวิยะ  พันธ์ฤทธิ์   บรรณารักษ์  sawiyap@chaiyo.com น.ส.ชนัญชิดา   ทองคำ  chida.cha@chaiyo.com
 นงเยาว์   สมนาค nsomnak@hotmial.com