what.gif (4683 bytes)  aniflower.gif (2347 bytes)aniflower.gif (2347 bytes)

barslider.gif (11170 bytes)

 musica6.gif (538 bytes)   [ กลับไปหน้าแรก ]   [ webmaster]updated.gif (1754 bytes)

 

               เรา มี วันสำคัญ  เกี่ยวกับ  ชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ  วันเทศกาลสำคัญ หรือ วันอนุสรณ์ประจำปี และเมื่อถึงวันสำคัญ  ราชการก็จะหยุดราชการ เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงาน รวมทั้งสถานศึกษา  ประกอบพิธีในวันสำคัญนั้น ๆ   วันสำคัญเหล่านี้มักทำกันเป็นประจำทุกปี  แต่มีคนไม่กี่คน  เอกสารไม่กี่เล่ม  ที่รวบรวมวันสำคัญไว้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์  เวบนี้จึงได้นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ แก่ ส่วนราชการ หน่วยงานและสถานศึกษา   เชิญชมได้แล้วครับ. 

พิธีวางศิลาฤกษ์

พิธีวางศิลาฤกษ์
          พิธีวางศิลาฤกษ์ เป็นพิธีที่จัดขึ้นตามแบบอย่างนบธรรมเนียมประเพณีไทยซึ่งได้เลือกหา "ฤกษ์" หรือเวลาที่เหมาะสม เป็นมงคล และให้ประสบโชคดี เต็มไปด้วยความราบรื่นมีความสุขกายสบายใจ  

           ธรรมเนียมประเพณีการวาง ศิลาฤกษ์นี้เกิดจาก ความ เชื่อถึอทาง โหราศาสตร์

          สิ่งปลูกสร้างที่ควรวางศิลาฤกษ์ ได้แก่ อาคารที่เป็นสาธารณสถาน เช่นโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ สถานที่ราชการ หรือสำนักงานใหญ่ของบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจ 

         ถ้าอาคารบ้านเรือนไม่นิยมทำพิธีวางศิลาฤกษ์ แต่จะทำพิธียกเสาเอกเสาโท

สิ่งของที่ใช้ประกอบพิธี
          1. แผ่นศิลาฤกษ์ (แผ่นศิลาที่ล
ดวงฤกษ์) เป็นแผ่นหินอ่อนขนาดกว้าง 12 นิ้ว ยาว 18 นิ้วโดยประมาณและเป็นรูป ดวงฤกษ์ หมายถึงฤกษ์ที่จะประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารหลังนั้น ซึ่งจะต้องให้ผู้ชำนาญ 

             การหาฤกษ์หายาม เป็นผู้หาให้เมื่อ ได้ฤกษ์แล้วไปซื้อแผ่นหินอ่อนให้ช่างทำเป็นแผ่นศิลาฤกษ์ให้
          2. เพชรพลอย 9 สี ใส่ตะลับละสี รวม 9 ตลับ อาจใช้หินสีต่าง ๆ 9 สี แทนก็ได้
          3. แผ่นอิฐทอง เงิน และนาก อย่างละ 3 แผ่น อาจใช้อิฐมอญทาด้วยสีบรอนซ์ก็ได้
          4. เสาเข็ม ทำด้วยไม้มงคลทั้ง 9 ถากเป็นเสาสี่เหลี่ยม ขนาด 1 นิ้วครึ่ง X ครึ่งนิ้ว X 9 นิ้ว เสี้ยมปลายให้แหลม 

           ไม้มงคลทั้ง 9 ได้แก่ 
               (1)  ไม้ชัยพฤกษ์ (ไม้จำพวกคูน) ความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดโชคชัย
               (2)  ไม้ราชพฤกษ์ (ไม้คูน) เพื่อให้เป็นใหญ่เป็นโต มีคนเคารพนับถือ
               (3)  ไม้ทองหลาง เพื่อให้เงินทองไหลมาเทมา มีความมั่งคงสมบูรณ์
               (4)  ไม้ไผ่สีสุก เพื่อให้สุขการสบายใจ ไม่มีความเดือนร้อน
               (5)  ไม้กันเกรา (ไม้มันปลา) เพื่อป้องกันภัย มิให้เกิดอันตราย
               (6)  ไม้ทรงบาดาล (ไม้ประดับชนิดหนึ่ง ต้นโตพอสมควรมีดอกสีเหลือง) เพื่อให้บันดาลความสุขได้
               (7)  ไม้สัก เพื่ออานุภาพนั้น ๆ เกิดความศักดิ์สิทธิ์
               (8)  ไม้ยุง เพื่อพยุงฐานะให้มั่นคงถาวร
               (9)  ไม้ขนุน เพื่อหนุนทรัพย์สิน เงินทอง ยศบรรดาศักดิ์
          5.  ทรายปลุกเสก เป็นทรายธรรมดา ใส่ขันไว้จำนวนพอประมาณ สำหรับโปรยบริเวณวางศิลาฤกษ์เพื่อล้างอาถรรพณ์ ก่อนวางศิลาฤกษ์
          6.  น้ำพระพุทธ์มนต์ น้ำในบาตรน้ำมนต์ ที่เราจัดไว้ในพิธีตอนพระสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์
          7.  ข้าวตอกดอกไม้ คือดอกไม้ชนิดต่าง ๆ เช่นดอกมะลิ ดอกบานไม่รู้โรย ดอกเฟื่องฟ้า ฯลฯ รูดเอาแต่ดอกไม้ ให้มีก้านดอกติด ข้าวตอก ถั่วดิบ งาดิบ ใส่ถาดไว้จำนวนมากพอสมควร สำหรับโปรยตอนประธานวางศิลาฤกษ์แล้ว
          8.  เครื่องเจิม ได้แก่ ถ้วยเจิมใส่กระแจะ หรือแป้งหอม สำหรับประธานสงฆ์เจิมแผ่นศิลาฤกษ์
          9.  ค้อน เป็นค้อนไม้ ไม่ใช้ค้อนเหล็กตีตะปูของช่างไม้ สำหรับประธานตอกเสาเข็ม (ไม้มงคล)
          10. ทราย ปูนซีเมนต์ น้ำ และเกรียง  เตรียมใส่ภาชนะไว้ เพื่อผสมให้ประธานเททับอิฐทอง อิฐเงิน และอิฐนาก แล้วจึงวาง แผ่นศิลาฤกษ์
      
  (อุปกรณ์ตามหมายเลข 6.1.1-6.1.9 ต้องนำเข้าพิธีสงฆ์ ตอนพระสงฆ์ 9 รูปเจริญพุทธมนต์)

สถานที่ประกอบพิธี
          1. หลุมวางศิลาฤกษ์ ควรจัดไว้ตรงกลางของอาคารที่จะปลูกสร้างขึ้น ทำเป็นหลุมกว้างพอประมาณ ก่ออิฐรอบหลุม ทำเป็นขอบให้สูงจากพื้นดินเดิม กะว่าเมื่อเทพื้นอาคารที่จะปลูกสร้างขึ้นแล้ว จะทับหลุมศิลาฤกษ์มิดพอดี ในหลุมที่ก่ออิฐรอบนั้น ให้ถมดินขึ้นมาเหลือไว้ไม่เต็ม ลึกจากขอบลงไปประมาณ 1 ฟุต
          2. ศาลเพียงตา รอบบริเวณที่จะวางศิลาฤกษ์ให้มีศาลเพียงตาประจำมุมสี่เหลี่ยมมุมละ 1 ศาล และศาลประจำหลุม ศิลาฤกษ์อีก 1 ศาล รวมเป็น 5 ศาล แต่ละศาลประกอบด้วย
               (1)  ราชวัติ คือไม้ไผ่สานขัดแตะตาเฉลียง 3 แผ่น ล้อมศาล 3 ด้าน
               (2)  ฉัตร 5 ชั้น 2 คัน ฉัตร 7 ชั้น 1 คัน
               (3)  หน่อกล้วย หน่ออ้อย หน่อมะพร้าว อย่างละ 1 หน่อ (พร้อมที่จะนำไปปลูกได้)
               (4)  บายศรีปากชาม (ขันหมากเบ็ง) พร้อมด้วยดอกไม้ ธูป เทียน 1 ชุด
               (5)  กระถางธูป 1 กระถาง เชิงเทียน 1 คู่
          3.
ด้ายสายสิญจน์จากศาลเพียงตาประจำหลุมศิลาฤกษ์เวียนขวาไปรอบศาลประจำมุมทั้งสี่แล้วโยงไปที่โต๊ะหมู่บูชา
ในประรำพิธี
          4. ประรำพิธี จัดปะรำพิธีนอกบริเวรศาลประจำมุมทั้งสี่ห่างออกไปพอประมาณแล้วแต่ความเหมาะสมของสถานที่ ในปะรำจัดให้มีโต๊ะหมู่บูชาครบชุด จัดอาสนะสงฆ์สำหรับสงฆ์ 9 รูป  นอกจากนั้นให้มีชุดรับแขก  มีเก้าอี้สำหรับแขก
หรือผู้มาร่วมงานให้เพียงพอกับแขกที่เชิญ  พร้อมสิ้งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ หากเห็นว่าควรมีแท่นสำหรับประธาน
ในพิธีก็ควรเลือกวางในที่เหมาะสม  ประดับตกแต่งให้สวยงาม  รวมทั้งประรำในพิธีด้วย
           ด้านเครื่องเสียงควรใช้เครื่องเสียงได้ยินทั่วถึงบริเวณงาน  สายไมโครโฟน  ขาตั้งไมค์สั้น  ยาว  ให้มีจำนวนพอกับจำนวน
ไมคโครโฟน  และจำนวนจะต้องมีอย่างน้อย  4  ตัว  ( สำหรับพระสงฆฺ์ 1 สำหรับพิธีกร 1 สำหรับผู้อำนวยงาน 1 และสำหรับ
ประธาน 1 ตัว

เครื่องสังเวยเทวดา
              ตั้งโต๊ะใหญ่ปูด้วยผ้าขาวที่หลุมวางศิลาฤกษ์  นำหครื่องสังเวยมาวางบนโต๊ะนี้  กางกลดหรือร่วมกันแดดที่
เครื่องสังเวยนั้นด้วย

 musica6.gif (538 bytes)   เครื่องสังเวย ประกอบด้วย (อาจจะเว้นบางอย่างที่ไม่สามารถหาได้)

          1. หัวหมูด้มสุก 1 ห้ว          
          2. ปลาช่อนต้มแปะซะ (ไม่ขอดเกล็ด) 1 ตัว
          3. บายศรีปากชาม 1 คู่ แต่ละอันใส่ข้าวเหนียวนึ่ง 1 ก้อน ไข่ต้มสุก 1 ฟอง และดอกไม้ธูปเทียน
          4. กล้วยน้ำไท หรือกล้วยน้ำว้า 1 หวี มะพร้าวอ่อนปอกเปลือก 1 ลูก
          5. อาหารคาว - หวาน พร้อมข้าวสวย 1 สำรับ น้ำสะอาด 1 แก้ว
          6. แจกันดอกไม้ กระถางธูป เชิงเทียน 1 ชุด ไม้ขีด ไม้ขีดไฟ 1 กลัก
          7. ผลไม้ เช่น ส้ม เงาะ มะม่วง ฯลฯ จำนวนตามสมควร
          8. มีดหั่นเนื้อ 1 เล่ม     

บุคลากรที่จะประกอบพิธี
         
บุคลากร หรือผู้ที่เป็นส่วนสำคัญที่จะประกอบพิธีจะขาดไม่ได้ ได้แก่
         
1.  พระสงฆ์ 9 รูป ประกอบพิธีสงฆ์
          2. พิธีกร หรือ ผู้กำกับ หรือเจ้าของพิธีการ ต้องเป็นผู้ที่เข้าใจขั้นตอนในการดำเนินการหรือขั้นตอนในการประกอบ พิธีเป็นอย่างดี จะเป็นผู้ประกาศเองได้ หรือจะให้ผู้อื่นเป็นผู้ประกาศแทนก็ได้ แต่ผู้ประกาศแทนจะต้องได้รับการซักซ้อมจากพิธี เป็นอย่างดี
 
          3. โหราจารย์ หรือ โหร ผู้ประกอบพิธีบวงสรวง
          4.  พราหมณ์ ทำหน้าที่แทนเจ้าภาพ ( แต่งกายนุ่งขาวห่มขาว ) 5 คน ประจำศาลเพียงตา ศาลละ 1 คน 
          5.  สาวพรห
จารี (แต่กายนุ่ขาวห่มขาว) ประมาณไม่เกิน 9 คน สำหรับถือพานใส่มงคล ค้อน ทราย อิฐ ข้าวตอก ดอกไม้ ตลับเพชรลอย และแผ่นศิลาฤกษ์
          6.  ประธานในพิธี (ผู้ที่จะว่างศิลาฤกษ์) เป็นผู้หลักผู้ใหญ่เจ้าภาพเคารพนับถือ อาจจะเป็นพระสงฆ์หรือฆราวาส หรือนักการเมื่อง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ก็ได้ แล้วแต่เห็นเหมาะสมสะดวกกับผู้เชิญ และสะดวกกับผู้รับเชิญด้วย

          ทุกท่านที่กล่าวถึงนี้จะต้องไปเชิญหรือไปประสานงานกับท่านให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน และจะต้องแนบกำ
หนดการ ตลอดทั้งแนะนำสถานที่ประกอบพิธีด้วย เส้นทางการเดินทางสะดวกหรือไม่ อย่างไรด้วย

จัดทำโดย  

  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ  อำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดสุรินทร์  32170  โทร. 044 - 569213
ศรายุทธ บูรณ์เจริญ    ผู้อำนวยการ     srayudhb@hotmail.com  , srayudhb@mweb.co.th , srayudh@chaiyo.com
สาวิยะ  พันธ์ฤทธิ์  
บรรณารักษ์  sawiyap@chaiyo.com 

ชนัญชิดา   ทองคำ  chida.cha@chaiyo.com
นงเยาว์   สมนาค nsomnak@hotmail.com