what.gif (4683 bytes)    aniflower.gif (2347 bytes)aniflower.gif (2347 bytes)

barslider.gif (11170 bytes)

 musica6.gif (538 bytes)   [ กลับไปหน้าแรก ]   updated.gif (1754 bytes)

          วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หมายถึง วันที่มีเหตุการณ์พิเศษบางอย่างที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา โดยมากจะเป็นวันที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าซึ่งจะกำหนดเอาวันที่มีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้นในชีวิตของพระองค์เป็นหลัก 

- วันวิสาขบูชา - วันมาฆบูชา  - วันอาสาฬหบูชา - วันอัฎฐมีบูชา - วันเข้าพรรษา - วันนออกพรรษา -  วันเทโวโรหณะ - วันธรรมสวนะ

วันวิสาขบูชา                                                                                                                                                                  


วันมาฆบูชา

               มาฆบูชา  แปลว่า การบูชาในเดือน 3 เป็นวันที่มีความสำคัญวันหึ่งของพระพุทธศาสนาในที่ท่ามกลางสงฆ์ ณ เฬุวันนมหาวิหาร  โดยพระพุทธเจ้าทรงปรารภเหตุสำคัญ  4  ประการ  ที่รู้จักกันไดยทั่วไปว่า  จตุรงคสันนิบาต  ซึ่งแปลว่า  การชุมนุมที่พร้อมด้วยองค์ 4 คือ

               1. วันนั้นเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 

               2. วันนี้พระอรหันขณนาสพ  จำนวน 1,250   รูป  มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย

               3.  พระอรหันขีณาสพที่มาชุมนุมนั้น  ล้วนเป็นผู้หมดกิเลสบรรลุอภิญญา  6  แล้วทั้งสิ้น

               4.  พระอรหันขณนาสพทั้งหมดนั้น เป็น เอหิภิกขุ   คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง

               ปัจจุบัน  ราชการได้ให้ความสำคัญต่อวันมาฆบูชา  โดยกำหนดเป็นวันหยุดราชการ เช่นเดียวกับวันวิสาขบูชา


วันอาสาฬหบูชา    

            อาสาฬหบูชา    แปลว่า  การบูชาในเดือน 8 เป็นวันสำคัญทางพระพุทธสาสนา  โดยเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเศนาครั้งแรก  หลังจากที่ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ  เรียกว่า  ปฐมเทศนา  โดยที่พระธรรมเทศนา ที่ทรงแสดงในครั้งนั้น มีชื่อว่า  ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร  ผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดครั้งนั้นคือ  พระเบญจวัคคีย์

           การประกอบพิธีกรรมใรวันอาสาฬหบูชา   คณะสังฆมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้กำหนด เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกันวันวิสาขบูชาและวันมาฆบูชา  โดยเห็นสมควรกระทำบูชา  เพื่อเป็นการเตือนใจพุทธศาสนิกชนทั้งหลายให้ซาบซึ้งในคุณพระรัตนตรัย  เจริญภาวนามัยกุศล  จึงกำหนดให้วัดต่าง ๆ ถือปฏิบัติ  ดังนี้

           1. วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ให้เรียกว่า วันอาสาฬหบูชา

           2. ให้ประกอบพิธีบูชา  เช่นเดียวกับพิธีวิสาขบูชา

           3. ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาส  ให้กำหนดการประกอบพิธีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8  หลัง

           4. ให้วัดทั้งหลายประกอบพิธีวันอาสาฬหบูชา  ตั้งแต่ พุทธศักราช  2501  เป็นต้นไป.


 

 

ที่มา :    กรมการศาสนา  ศาสนพิธีสำหรับครูสอนวิชาพระพุทธสาสนา. พ.ศ.2537 (หน้า 124 - 125)

               

 

จัดทำโดยศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ  อำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดสุรินทร์  32170  โทร. 044 - 569213
ศรายุทธ บูรณ์เจริญ     ผู้อำนวยการ     srayudhb@hotmail.com  , srayudhb@mweb.co.th , srayudh@chaiyo.com
ชนัญชิดา   ทองคำ   chida.cha@chaiyo.com
นงเยาว์   สมนาค  nsomnak@hotmail.com