[
กลับไปหน้าแรก ]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ คือสิ่งซึ่งแสดงถึงเครื่องหมายเกียรติยศ และบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการ หรือส่วนพระองค์ เรียกเป็นสามัญว่า ตรา หรือ เหรียญตรา
การเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีประเพณีการปฏิบัติเป็น 3 วิธี คือ 1. รับพระราชทานต่อพระหัตถ์ 2. รับจากผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 3. รับจากผู้แทนพระองค์
รับพระราชทานต่อพระหัตถ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่พระราชทานต่อพระหัตถ์ จะพระราชทานในโอกาสต่อไปนี้ 1. พระราชทานเมื่อเสด็จออกมหาสมาคม ท่ามกลางมวลสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในการพระราชทานพิธีฉัตรมงคล 2. พระราชทานในโอกาสเสด็จออกบำเพ็ญพระราชกุศลในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 3. พระราชทานเมื่อเสด็จออกท่ามกลางสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามาธิบดีในพระราชพิธีที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดขึ้นเป็นพิเศษ 4. พระราชทานเมื่อเสด็จออกในพิธีที่จัดขึ้นสำหรับพระราชทาน
รับจากผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ การเข้ารับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น การแต่งกายและการรปฏิบัติคล้ายการเข้ารับ พระราชทานจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผิดกันเพียงการปฏิบัติเล็กน้อยคือ 1. เมื่อเจ้าหน้าที่ขานชื่อให้เข้ารับพระราชทาน ให้ออกเดินจากแถวมาหยุดยืนตรงหน้าพระราชอาสน์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วถวายคำนับพระราชอาสน์ก่อนต่อจากนั้นจึงเดินไปยังหน้าที่ประทับของผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ แล้วหยุดคำนับในระยะอันควร ต่อจากนั้นปฏิบัติอย่างเข้ารับพระราชทานต่อพระหัตถ์ เว้นแต่ไม่ต้องเอางาน 2. เมื่อรับพระราชทานแล้ว ให้ลุกขึ้นถวายคำนับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หนึ่งครั้ง แล้วเดินถอยหลังออกมาประมาณ 3 ก้าว หยุดหันหน้าถวายคำนับไปทางพระราชอาสน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกครรั้งหนึ่ง แล้วจึงกลับไปยืนเฝ้า ฯ ตามตำแหน่ง
รับจากผู้แทนพระองค์
เครื่องราชอิสยาภรณ์ตระกูลช้างเผือก และตระกูลมงกุฎไทย ตั้งแต่ชั้นทวีติยาภรณ์ภรณฺลงมา มีผู้ได้รับพระราชทานเป็นจำนวนมาก เหลือวิสัยที่จัดให้เข้ารับพระราชทานต่อพระหัตถ์ได้กองประกาศิต สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จึงได้เชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานในโอกาสอันควร เช่น ในวันสถาปนากระทรวงทบวงกรมนั้น ๆ เป็นต้น การมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ข้าราชการในสังกัดที่ได้รับพระราชทาน เป็นการมอบสิ่งมีอันมีเกียรติเป็นเครื่องตอบแทนคุณงามความดีของข้าราชการที่มีความชอบในราชการแผ่นดินดังนั้ ควรจัดการมอบเป็นพิธีการให้สมแก่เกียรติยศ การจัดห้องพิธี ภายในห้องพิธี ต้องประดิษฐานพระพุทธรูปบนโต๊ะหมู่บูชา ประดิษฐานธงชาติทางด้านขวาพระพุทธรูป และประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางด้านซ้าย ตั้งเก้าอี้นั้งของเจ้ากระทรวงทบวงกรม หรือผู้บังคับบังชาของหน่วยราชการ ซึ่งจะมาเป็นผู้มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้เยื้องไปอีกทางหนึ่งของห้องอย่าให้บังที่ประดิษฐานพระพุทธรูปธงชาติและพระบรมฉายาลักษณ์เป็นอันขาด ผู้ที่เข้ารับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ยืนเข้าแถวตามลำดับ การแต่งกาย ผู้ทำหน้าที่มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ถือได้ว่าเป็นผู้หน้าที่ผู้ปฏิบัติแทนพระองค์ ในการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนั้นในพิธีนี้ จึงต้องแต่งเครื่องแบบปกติทั้งตัวผุ้เป็นประธานและผุ้ที่จะเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ วิธีเข้ารรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เมื่อประธานในพิธีมาถึงและเข้าสู่ห้องพิธี ให้ทุกคนในห้องยืนตรง (แต่ยังไม่ต้องแสดงความเคารพ) ประธานในพิธีเดินตรงไปยังที่บูชา จุดธูปเทียนนมัสการพระรัตนตรัยกราบ แล้วลุกขึ้นถอยออกมา ๓ ก้าว ก้มศีรษะคำนับ ๑ ครั้ง เพื่อเป็นการทำความเคารพธงชาติ และพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว จึงเดินไปยืนอยู่ตรงหน้าที่นั่งที่จัดไว้ ทุกคนที่อยู่ในห้องพิธีทำความเคารพด้วยวิธีก้มศีรษะลงคำนับ ประธานเคารพตอบแล้วจึงนั่งลงได้ การมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ ผู้เป็นประธานยืนมอบ เว้นไว้แต่ในสถานที่ที่จัดให้ผู้เป็นประธานอยู่บนเวที ผู้รับมอบอยู่เบื้องล่าง ผู้เป็นประธานจึงนั่งมอบ วิธีเข้ารับปฏิบัติดังนี้ - เมื่อก้าวออกจากแถวให้เดินตรงไปหยุดอยู่ที่หน้าโต๊ะหมู่บูชาในระยะอันควร แล้วทำความเคารพโดยวิธีก้มศีรษะ ๑ ครั้ง เป็นการเคารพสิ่งสักการะทั้ง ๓ คือ พระพุทธรูป ธงชาติ และพระบรมรูปรวมกัน แล้วจึงเดินเข้าไปทำความเคารพประธานในพิธี ในระยะห่างพอควร คือประมาณ ๓ ก้าว แล้วจึงสืบเท้าเข้าไปรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การรับให้ยืนรับและไม่ต้องเอางาน - เมื่อได้รับแล้ว ก้มศีรษะลงทำความเคารพประธานครั้งหนึ่ง แล้วก้าวถอยหลังออกมาประมาณ ๓ ก้าว หยุดยืนหันหน้าไปทางที่บูชา ก้มศีษระลงคำนับ ก้มศีรษะลงคำนับสิ่ง สักการะทั้ง ๓ อีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงเดินกลับไปยืนอยู่ตามตำแหน่งเดิมในอิริยาบทที่ถือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไว้ สูงระดับเอวตลอดเวลา ทั้งนี้ จนกว่าจะเสร็จพิธี
การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แต่งเครื่องแบบตามระเบียบของทางราชการ มีเครื่องแบบเต็มยศ เครื่องแบบครึ่งยศ เครื่องแบบปกติ และเครื่องแบบสโมสร โดยถือระเบียบดังนี้ ๑. แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานตามลำดับของการเรียงลำดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่กล่าวมาแล้ว และกำหนดนัดหมายของทางราชการ การประดับนั้นให้ประดับตามพระราชบัญญัติ และโดยนัยดังนี้ ก. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดติดหน้าอก ให้ประดับไว้เหนือปากกระเป๋าเสื้อเบื้องซ้ายต่ำกว่าแนวรังดุมเม็ดที่ ๑ ลงมาพองาม การเรียงลำดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่กำหนดให้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย ให้เรียงจากด้านรังดุมไปปลายบ่าซ้าย ส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่กำหนดให้ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา ให้เรียงจากด้านรังดุมไปปลายบ่าขวา ข. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดสวมคอ ให้สวมภายในคอเสื้อนอก โดยให้ส่วนสูงของดวงตราจรดขอบล่างคอเสื้อ ถ้ามีเครื่องราชอิสริยาภรณ์คล้องคอหลายดวงให้ลดดวงตราที่มีลำดับรองลงมาประดับไว้ภายใต้ดวงที่คล้องคอ โดยให้แพรแถบแลบออกมานอกเสื้อพองาม หรือ จะพับแพรแถบของดวงตรานั้นซ้อนกันพองาม กลัดติดไว้ภายใต้รังดุมเม็ดที่ ๒ ต่อจากดวงสวมคอลงมาก็ได้ ค. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดสวมคอมีดารา ดวงตราสวมคอให้ปฏิบัติอย่างเดียวกับข้อ ข. ดาราให้ประดับไว้ที่หน้าอกเสื้อเบื้องซ้ายพองาม |
จัดทำโดย
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ
จังหวัดสุรินทร์ 32170 โทร. 044 -
569213
ชนัญชิดา
ทองคำ
chida.cha@chaiyo.com
|