[ กลับไปหน้าแรก
] [ webmaster ]
มารยาทในอิริยาบทต่าง ๆ ตามแบบอย่างในวัฒนธรรมไทย เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมไทยที่จะต้องทราบและปฏิบัติให้ถูกต้องกลมกลืนกับคนอื่นในงานพิธีต่าง ๆ ซึ่งมีแบบเฉพาะที่ต้องปฏิบัติในเวลาของศานพิธีและพิธีอย่างอื่น คลิกได้ที่นี่ครับ. |
การยืน
การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์หรือพระมเหสี ควรแสดงต่างกันสำหรับชายหญิงคือ
สำหรับชาย |
สำหรับหญิง |
|
|
การเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
มีข้อปฏิบัติในการเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
1. การเข้าเฝ้าเมื่อเสด็จพระราชดำเนิน เมื่อเสด็จพระราขดำเนินผ่าน จะเป็นโดยประทับยานพาหนะหรือเสด็จพระราชดำเนินก็ตาม จะต้องถวายความเคารพ จะทำโดยวิธีใด ๆ สุดแต่ผู้เฝ้า ฯ เฝ้า ฯ โดยการนั่งหรือยืน แต่ให้เลือกถวายความเคารพได้ในวิธีที่เหมาะสม จะเป็นยืนตรงถวายความเคารพตามเพศ วันทยหัตถ์ กราบหรือไหว้ แต่ไม่นิยมใช้ทำตามความนิยมทางตะวันตก เช่น โบกมือ เป็นต้น
1.1 ถ้าเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์ ให้ยืนตรงถวายคำนับ หรือ วันทยหัตถ์ หรือกราบหรือไหว้ ตามความเหมาะสมของสถานที่และการแต่งกาย
1.2 ถ้าเสด็จพระราชดำเนินโดยลาดพระบาท นิยมการนั่งเฝ้า ฯ หรือยืนเฝ้า ฯ ก็ได้ ให้ห่างจากลาดพระบาทพอสมควร ถ้ายืนเฝ้า เมื่อเสด็จพระราชดำเนินผ่าน ก็ถวายความเคารพตามเพศ ถ้านั่งเฝ้า ฯ เมื่อเสด็จมาใกล้ ผู้เฝ้า ฯ หมอบขณะเสด็จ ฯ ก้มตัวกราบ แล้วหมอบอยู่จนเสด็จ ฯ ผ่านไปแล้ว จึงลุกขึ้นนั่ง หรือเพียงแต่กราบเมื่อเสด็จ ฯ ผ่านเท่านั้น ก็ไม่ผิด.
2. การเข้าเฝ้า ฯ ในงานที่นั่งเก้าอี้หรือยืนเฝ้า เมื่อเส็จพระราชดำเนินถึงผู้เฝ้า ฯ ลุกขึ้นหันไปทางพระองค์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินผ่านถวายคำนับ และในกรณีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ต้องยืนจนจบเพลงแล้วถวายคำนับ แล้วจึงนั่ง
3. การเฝ้า ฯ ในที่รโหฐาน ควรเข้าเฝ้า ฯ ตามประเพณีไทย คือ คลาน หมอบกราบ เพราะเป็นการเฝ้า ฯ ภายใน ไม่เป็นพิธีการ และเมื่อจะเข้าเฝ้า ควรถอดรองเท้า โดยปฏิบัติตามลำดับ ดังนี้
เข้าไปในที่เฝ้า ฯ กราบ
คลานเข้าไปใกล้พระองค์ในระยะพอสมควร เฉลียงข้างไม่เฉพาะพระพักตร์
กราบ
หมอบเฝ้า ฯ มือประนม ระหว่างหมอบนี้จะกราบบังคมทูล หรือฟังพระราชกระแส หรือถวายของแล้วแต่กรณี
เมื่อจะกราบบังคมลากลับ กราบ
คลานถอยหลังมาระยะพอสมควร หรือจนสุดห้อง
เมื่อจะลุกขึ้นในห้องที่เฝ้า ต้องกราบอีกครั้งหนึ่ง
4. การเข้าเฝ้า ฯ รับพระราชทานของ
การเข้าเฝ้าพระราชทานของ เป็นพิธีการใช้เดิน และย่อตัวรับพระราชทาน แต่แบบไทยหรือพระราชสำนัก หรือการเข้าเฝ้า
ฯ รับพระราชทานของโดยไม่เป็นพิธีการ ควรคลานและหมอบ ดังนี้
4.1 เข้าเฝ้า ฯ รับพระราชทานของ มีลำดับการปฏิบัติ ดังนี้
ถวายคำนับตามเพศ
เดินเข้าไปใกล้พอสมควร
ถวายความคำนับตามเพศ
ย่อเข่าซ้ายลง ตั้งเข่าขวา
เอางาน (เอางาน เป็นการกระทำที่แสดงความเคารพ วิธีทำ ก็คือ ยกมือขวาขึ้นไปข้างหน้า ให้เฉียงจากตัวประมาณ 45 องศา ปลายมือตรงนิ้วมือชิดแล้วกระดกปลายมือขึ้น แล้วกลับที่เดิม เร็วๆ 1 ครั้ง ระวังอย่าให้ส่วนที่ยกขึ้นเลยข้อมือไป เวลาเอางานเมื่อรับพระราชทานเอง ไม่ใช่พอกระดกมือขึ้นแล้วช้อนมือลง ในลักษณะหงายมือเพื่อรับพระราชทานทีเดียว ต้องลดปลายมือละที่เดิมเสียก่อนแล้วจึงช้อนมือ หรือแบมือรับพระราชทาน ฯ )
รับพระราชทานของ ถ้าเป็นของเล็ก ๆ รับด้วยมือขวา ถ้าเป็นของใหญ่รับด้วยมือทั้งสองข้าง โดยยกขึ้นเกือบจะพร้อมกับมือที่เอางาน
ลุกขึ้นถอยหลังครึ่งก้าวหรือก้าวหนึ่ง ถวายคำนับ
เดินถอยหลังประมาณ 3 ก้าว ถวายคำนับ
เดินตามปกติ
4.2 เข้าเฝ้า ฯ รับพระราชทานของตามประเพณีไทย มีลำดับการปฏิบัติ ดังนี้
กราบ
คลานมือไปใกล้พระองค์ท่านระยะพอรับของได้
กราบ
เอางาน
รับพระราชทานของ
คลานถอยหลัง
4.3 การเข้าเฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายของแบบพิธีการ มีลำดับการปฏิบัติ ดังนี้
ถวายคำนับ
เดินเข้าใกล้
ย่อเข่าซ้าย ตั้งเข่าขวา
ทูลเกล้า ฯ ถวาย โดยยกพานที่คอพานด้วยมือทั้งสองข้าง และน้อมตัวเล็กน้อย
ลุกขึ้นถอยหลังครึ่งก้าวหรือเต็มก้าว แล้วถวายคำนับ
เดินถอยหลังประมาณ 3 ก้าว แล้วถวายคำนับ
เดินตามปกติ
4.4 การเข้าเฝ้า ถวายดอกไม้ธูปเทียน
(1) ใช้ในกรณีทูลลาอุปสมบท ลาไปต่างประเทศ
(2) ธูปเทียนใช้ธูปเทียนแพขนาดกลางขึ้นไป จัดธูปไว้บน เทียนไว้ล่าง
บนแพธูปเทียนนวางกระทงดอกไม้ซึ่งมีกรวยปิด ทั้งหมดนี้วางบนพานซึ่งมีไม้แผ่นรองอยู่
เวลายกพานหรือวางพานให้ปลายธูปเทียนอยู่ด้านซ้ายมือของผู้ถือ
(3) การเข้าเฝ้า ฯ มีลำดับการปฏิบัติ ดังนี้
เมื่อเข้าไปในห้องเฝ้า ฯ อย่าสวมรองเท้า วางพานใกล้ ๆ ตัว กราบ
วางพานเดินเข้าไประยะพอสมควร แล้วเปลี่ยนเป็นคลาน
เมื่อเข้าใกล้พอสมควรแล้ววางพานลงข้าง ๆ กราบ
ยกพานวางบนโต๊ะ หรือพื้นเบื้องหน้า ให้ตัวตรง ห่างพอกราบได้ไม่ติดพาน
เปิดกรวยกระทงดอกไม้
กราบให้ตรงกับพานดอกไม้ธูปเทียนแล้วเปลี่ยนเป็นหมอบประนมมือ
ถ้าพระราชทานพระบรมราโชวาท เมื่อจบกราบครั้งหนึ่ง
เมื่อกลับ กราบแล้วคลานถอยหลัง
ก่อนจะออกจากห้องเฝ้า ฯ กราบอีกครั้งหนึ่ง
วิธีแสดงความเคารพพระ
การแสดงความเคารพพระ มี 3 วิธี คือ
1. ประนมมือ ตรงกับภาษาบาลีว่า อัญชลี คือการกระพุ่มมือทั้งสองประนมให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน นิ้วทุกนิ้วของมือทั้งสองแนบชิดตรงกัน ไม่มีการเหลื่อมล้ำกว่ากันหรือกางให้ห่าง ตั้งกระพุ่มมือประนมด้วยอาการนี้ไว้ในระหว่างอก ให้ตั้งตรงขึ้นข้างบน มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม แนบศอกทั้งสองข้างชิดชายโครง ไม่ให้กางออกไป เป็นการแสดงความเคารพเวลาสวดมนต์ หรือฟังพระสวดพระเทศน์ แสดงอาการเดียวกันทั้งชายทั้งหญิง
2. ไหว้ ตรงกับภาษาบาลีว่า วันทา คือการยกมือที่ประนมแล้วขึ้นพร้อมกับก้มศรีษะลงเล็กน้อย ให้มือประนมจรดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว ใช้แสดงความเคารพ ในขณะนั่งเก้าอี้หรือยืนอยู่ ไม่ใช่นั่งราบกับพื้น แสดงอาการเดียวกันทั้งชายทั้งหญิง
3. กราบ ตรงกับภาษาบาลีว่า อภิวาท คือแสดงอาการกราบกับพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ได้แก่กราบทั้งองค์ 5 ให้หน้าผาก 1 ฝ่ามือ 2 เข่า 2 จรดพื้น เมื่อกราบอย่างนี้พึงนั่งคกเข่า เป็นอันว่าเข่าจรดพื้นแล้ว พึงประนมมือไหว้ แล้วหมอบลง ทอดฝ่ามือทั้งสองที่พื้น แหวกช่องว่างฝ่ามือที่วางราบให้ห่างกันเล็กน้อย ก้มศรีษะลงตรงช่องนั้นให้หน้าผากจรดพื้น
วิธีกราบุคคลและวิธีกราบศพ
การกราบบุคคลและการกราบศพ กราบด้วยวิธีกระพุ่มมือ กราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ มีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
หากบุคคลหรือศพอาวุโสกว่าให้ประนมมือไหว้ขึ้น ให้ปลายนิ้วมือจรดจมูกก็ได้ หรือจะให้ปลายนิ้วมือจรดอยู่ระหว่างคิ้ว หัวแม่มืออยู่ระหว่างคิ้วก็ได้ ถ้าคนเสมอกันประนมมือขึ้นแค่ระหว่างอกก็พอ
นั่งพับเพียบเก็บเท้า ตามแบบนั่งพับเพียบหรือจะใช้วิธีหมอบกราบก็ได้
หมอบลงตามแบบหมอบ.
จัดทำโดย
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ
อำเภอสำโรงทาบ
จังหวัดสุรินทร์ 32170 โทร.
044 -
569213
ศรายุทธ บูรณ์เจริญ
ผู้อำนวยการ
srayudhb@hotmail.com , srayudhb@mweb.co.th ,
srayudh@chaiyo.com ชนัญชิดา ทองคำ
chida.cha@chaiyo.com
นงเยาว์ สมนาค
nsomnak@hotmail.com