[ กลับไปหน้าแรก ]
[ webmaster]
พิธีมงคลสมรส |
พิธีมงคลสมรสแบบวัฒนธรรม
การประกอบพิธีสมรสแบบวัฒนธรรมนี้ ได้กำหนดขึ้นเป็นระบียบง่าย ๆ เพื่อเป็นเกียรติและสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาวตลอดถึง สะดวกแก่แขกผู้มาในพิธีด้วย พิธีแบบวัฒนธรรมเป็นพิธีที่จัดต่างหากจากพิธีทางศาสนาที่นิยม คือ หลังจากการประกอบพิธีทางศาสนาแล้ว ควรจัดในตอนบ่ายหรือเย็นของวันพิธีทางศาสนาให้จัดห้องหนึ่งที่สมควรเป็นห้องพิธี และเป็นห้องโดยเฉพาะไม่ ปะปนกับห้องรับแขก ไม่จำเป็นต้องเป็นห้องใหญ่ก็ได้ มีประตูเข้าออกคนละทางได้ยิ่งดีและมีรายละเอียดดังนี้ เครื่องพิธี
การขอพระราชทานให้ทรงประกอบพิธีมงคลสมรส การขอพระราชทานให้ทรงประกอบพิธีมงคลสมรส ที่เรียกว่า การขอพระราชทานน้ำสังข์ มีอยู่ 2 แบบ คือ 1. แบบเป็นทางการ 2. แบบส่วนพระองค์ ซึ่งเรียกว่า น้ำสังข์ข้างที่ หลักเกณฑ์การขอพระราชทาน ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์เหล่านี้ คือ 1. พระราชทานให้แก่ผู้ที่ทรงรู้จักและคุ้นเคย 2. ทรงรู้จักบิดา มารดา ของผู้ขอพระราชทาน 3. ผู้บังคับบัญชา เป็นผู้ขอพระราชทานให้ ในกรณีที่เป็นทหาร ตำรวจ หรือพลเรือนที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ ข้อ 1. หรือ ข้อ 2. 4. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเป็นกรณีพิเศษ ผู้ขอพระราชทานต้องทำหนังสือยื่นต่อสำนักราชเลขาธิการ เพื่อขอให้นำความกราบบังคับทูลพระกรุณา พร้อมทั้งแนบวัน เดือน ปีเกิดของคู่สมรส และสถานที่ติดต่อมาด้วย |
การกล่าวอวยพรงานมงคลสมรส 1. รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับเชิญมากล่าวคำอวยพร 2. กล่าวถึงความสัมพันธ์ของผู้พูดกับคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย โดยเน้นถึงความดี ความงามของคู่สมรส 3. กล่าวแสดงความยินดีที่ทั้งสองได้สมรสกัน และเป็นคู่ครองที่เหมาะสม 4. กล่าวให้ข้อคิดในการครองเรือนของคู่สมรส 5. กล่าวอวยพรโดยการชักชวนให้ดื่มแสดงความยินดี. พิธีแต่งงาน คำว่า แต่งงาน เป็นคำธรรมดาสามัญ มาจากคำว่า วิวาหมงคล คือ ฝ่ายชายมาทำพิธีที่เคหสถานฝ่ายหญิง และคำว่า อาวาหมงคล คือ ฝ่ายหญิงมาทำพิธีที่เคหสถานฝ่ายชาย ทั้งสองคำนี้ ถ้ากล่าวเป็นคำกลาง เรียกว่า มงคลสมรส เพื่อให้ต่อการศึกษา จึงเรียงลำดับ เป็น ข้อ ๆ ดังนี้
1. วันที่เหมาะสำหรับการแต่งงาน
วันที่นิยมจัดพิธีแต่งงาน คือ วันอาทิตย์ วันจันทร์ กับวันศุกร์ วันที่ไม่นิยมจัดพิธีแต่งงาน คือ 1. วันอังคาร ถือว่ามักวิวาทและทุบตีกัน 2. วันพุธ โบราณห้ามขาด ท่านว่ามักนอกใจและเลิกร้างกัน 3. วันพฤหัสบดี ถือว่าวันครูมักตายจากกันก่อนเวลาอันสมควร 4. วันเสาร์ ถือว่า เป็นวันเจ้าทุกข์ มักจืดจางหรือเจ็บป่วย (วันพฤหัสบดี กับวันเสาร์ หากจำเป็นและประกอบด้วยฤกษ์งามดีแล้วก็พอทำได้)
2. เดือนที่เหมาะสำหรับการแต่งงาน นิยมแต่งงานใน เดือน 6 เดือน 9 เดือน 12 เดือนยี่ และเดือนสี่ นอกนั้นเป็นเดือนที่เสียหาย พึงเว้นเสีย
3. การสู่ขอ การสู่ขอเป็นวิธีการของฝ่ายชายที่จะจัดการหาผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ซึ่งเรียกว่า เฒ่าแก่ ไปเจรจาขอทำความตกลงจากบิดามารดา หรือผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง นับว่า เป็นฤกษ์ก่อนพิธีแต่งงาน ไม่ถือว่าสำคัฯนัก เมื่อผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบด้วยกันแล้ว จะไม่ทำการสู่ขอก็ได้
4. การหมั้น และ ขันหมาก การหมั้น กระทำกันในเมื่อผู้ใหญ่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงได้ตกลงปลงใจต่อกันแล้ว จึงกำหนดฤกษ์วันหมั้น ถือว่าเป็นการรับคำมั่นสัญญาต่อกันว่า ฝ่ายหญิงจะยกให้แก่ฝ่ายชาย เท่ากับการมัดจำไว้ ของที่ฝ่ายชายนำไปในวันหมั้น เรียกว่า ขันหมากหมั้น คือ มีขัน 2 ขัน จะใช้ขันถมหรือขันทองก็ได้ - ขันใบหนึ่ง ใส่หมากพลูขันหนึ่ง - ขันใบที่สอง ใส่ถั่วงา กับข้าวตอกขันหนึ่งพลูและหมากนั้น เขาใช้พลูใบและหมากลูก นับจำนวนเป็นคู่ ตามนิยมใช้พลู 16 ใบ หมาก 8 ลูก ส่วนถั่วงา กับข้าวตอกนั้น ใช้เย็บถุงเล็ก ๆ ใสอย่างละ 4 ถุง รวม 3 อย่าง เป็น 12 ถุง ให้เด็กพรหมจารีย์หญิงหรือชาย เป็นผู้เชิญขันหมากไปพร้อมกับเถ้าแก่ฝ่ายชาย ส่วนฝ่ายหญิงต้องจัดเถ้าแก่คอยรับขันหมาก ส่วนของหมั้น มีทองไปด้วย พร้อมกับขันหมาก โดยมีน้ำหนักทองตามที่ฝ่ายหญิงเรียกร้อง
5. การปลูกเรือนหอ เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงกันแล้ว ฝ่ายชายต้องเตรียมการปลูกเรือนหอ นิยมปลูกในเนื้อที่ของฝ่ายหญิง
6. พิธีเครื่องขันหมาก ก่อนถึงวันงาน 1 วัน เรียกว่า วันสุกดิบ ฝ่ายชายต้องนำผ้าไหว้ ขันหมากไปบ้านเจ้าสาว ขันหมากนั้น มี 3 ขัน เรียกว่า ขันหมากเอก 1 ขัน ขันหมากโท 2 ขัน ขันหมากเอกสำหรับใส่ข้าวสาร หมากพลูจัดเรียงรายพองามตามปากขัน ใสตะลุ่มมุกมีฝาปิด หุ้มผ้าลายมีไหมรัด ส่วนหมากโทนั้นใส่เงินสินสอด ถั่ว งา ข้าวเปลือก ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ธูปเทียน และผ้าไหว้บิดา มารดา ผ้าไหว้ผีปู่ ย่า ตายาย บางทีก็มีเครื่องไทยธรรม สำหรับถวายพระไปกับขบวนขันหมากด้วย จำนวผ้าไหว้นั้นจะจัดสักกี่คู่ ก็สุดแต่จะตกลงกัน ส่วนค่าสินสอด มีประเพณีว่า ต้องใส่ไว้ให้กเินกว่าที่ตกลงกันไว้ เมื่อเฒ่าแก่เปิดดูจะถือว่าเงินงอก เป็นเคล็ดว่า เมื่อชายหญิงคู่นั้นอยู่ร่วมกันแล้ว ทรัพย์สินก็มีแต่งอกเงยขึ้น 7. พิธีรดน้ำแต่งงาน เมื่อนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ถ้าเป็นพิธีใหญ่ ควรมีเทียน ธูปมงคลสำหรับเจ้าบ่าวเจ้าสาวคนละชุด ต่างฝ่ายต่างจุดเทียนและธูปของตน ถ้าทำอย่างธรรมดา ก็ไม่ต้องใช้เทียนมงคล ใช้แต่ธูปธรรมดาเพียงชุดเดียว โดยให้เจ้าสาวจุดเทียน และเจ้าบ่าวเป็นผู้จุดธูป เพื่อให้เกียรติแก่ฝ่ายหญิง เพราะเทียนมีศักดิ์มากกว่าธูป การจุดธูปเทียนมงคลนั้น ให้จุดเทียนก่อนจุดธูป เวลาตั้งเครื่องเตรียมรดน้ำสังข์ ให้ตั้งโต๊ะสำหรับวางเครื่องมงคลไว้ข้างเตียงรด ตั้งถาดเครื่องมงคลพิธีไว้ข้างหน้าแล้วจึงตั้งคนโฑทอง คนโฑเงิน คนโฑแก้ว ซึ่งได้ใส่น้ำมนต์ไว้แล้วตามลำดับ (รายละเอียดอ่านข้างบน) 8. ฤกษ์จดทะเบียน จะทำในวันแต่งงานเพื่อเป็นเกียรติแก่คู่บ่าวสาว หรือจะทำภายหลังวันแต่งงานก็ได้ ถ้าทำในวันแต่งงาน ควรทำก่อนเชิญแขกรดน้ำ
9. ฤกษ์รดน้ำ นิยมทำกันในเวลาบ่ายเย็น ให้ถือฤกษ์ที่โหรกำหนดเป็นฤกษ์รดน้ำ
9. การถอดมงคล (อ่านรายละเอียดด้านบน)
10. ฤกษ์ปูลาดเรียงหมอน กระทำกันตั้งแต่ย่ำค่ำล่วงไปแล้ว เป็นฤกษ์สำคัญยิ่งกว่าฤกษ์ใด ๆ ในพิธีแต่งงาน จำต้องเลือกหาเวลาฤกษ์ให้เหมาะ ผู้ที่จะเชิญมาปูที่นอน ควรเลือกหาคู่ที่เป็นสามีภรรยาอยู่ร่วมกันด้วยความเจริญสุขยืนนาน เพื่อนำทางให้คู่บ่าวสาวนั้น เจริญรอยตาม ผ้าปูที่นอน ควรนำเครื่องสุวรรณกาญจนาภรณ์โปรยลงข้างหมอนในเมื่อปูฟูกเรียงหมอนเสร็จแล้ว ครั้นปูเสร็จแล้วจึงนอนลงทั้งคู่เป็นการประเดิม 11. ฤกษ์ส่งตัว เป็นฤกษ์สำคัญอีกเหมือนกัน เมื่อเสร็จพิธีปูลาดเรียงหมอนแล้วจะเลยจัดการส่งตัวต่อกันไปก็เป็นการเหมาะดี หรือเป็นหน้าที่ของโหรผู้ให้ฤกษ์ 12. เครื่องที่เป็นมงคลในพิธีแต่งงาน เครื่องอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับพิธีแต่งงานท่านให้หาเลือกเฉพาะสิ่งที่มีชื่อเป็นสิริมงคล หรือสิ่งที่มีความหมายไปในทางร่มเย็น เป็นสุข ดังนี้ 1. ดอกไม้บูชาพระ ดอกไม้ที่ใส่พานบูชาพระพุทธ ใช้ดอกไม้ 5 อยาง คือ ดอกรัก,ดอกบานไม่รู้โรย,ดอกดาวเรือง, ดอกเบญมาศ,ดอกพุทธรักษา 2. เครื่องใส่ในโถแป้ง ใช้ลูก 3 อย่าง คือ ลูกสวาด,ลูกกันภัย,ลูกพุทธรักษา 3. เครื่องใส่ในฟูก สมัยก่อนฝ่ายเจ้าสาวมีหน้าที่เย็บที่นอนและต้องยัดนุ่นให้เสสร็จในวันนเดียว ถายในฟูกนั้นเขาใส่ใบไม้ 4 อย่าง คือ ใบรัก,ใบเงิน,ใบทอง,ใบมะตูม 4. เครื่องใส่ในบาตรน้ำมนต์ มีของใส่ 5 อย่าง คือ ฝักส้มป่อย,ใบเงิน,ใบนาก,ใบทอง,หญ้าแพรก 5. เครื่องใส่ในถุง มีของสำหรับใสส่ถุงอีก 4 ถุง คือ ถั่วทอง,งา,หินบดยา,ข้าวเปลือก วางไว้ที่ม้ารองโต๊ะตั้งพระพุทธ 6. เครื่องประกอบ ตามพิธีโบราณที่แท้นั้นมีจั่นหมากเล็ก ๆ 1 จั่น กล้วยน้ำหว้า 1 หวี ฟักเขียวทาดินสอพองละลายน้ำ 1 ผล แก้วแหวนเงินทอง เหล่านี้รวมกันใส่พานตั้งไว้ ตั้งแต่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จนถึงฤกษ์ปูลาดเรียงหมอน 7. เครื่องพิธี เครื่องพิธีที่ตั้งบนโต๊ะข้างเตียงรดน้ำสังข์มีถาดเท้าสิงห์ 1 ถาด มีของใส่ในถาดคือ พานมงคล, โถปริกใส่แป้งเจิม,หม้อครอบสัมฤทธิ์ใส่น้ำมนต์,สังข์มีพานรอง,ขันนน้ำพานรองสำหรับแบ่งน้ำมนต์ |
จัดทำโดย
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ
จังหวัดสุรินทร์ 32170 โทร. 044 -
569213 |