[ กลับไปหน้าแรก ]
[ webmaster]
เรา มี วันสำคัญ เกี่ยวกับ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ วันเทศกาลสำคัญ หรือ วันอนุสรณ์ประจำปี และเมื่อถึงวันสำคัญ ราชการก็จะหยุดราชการ เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงาน รวมทั้งสถานศึกษา ประกอบพิธีในวันสำคัญนั้น ๆ วันสำคัญเหล่านี้มักทำกันเป็นประจำทุกปี แต่มีคนไม่กี่คน เอกสารไม่กี่เล่ม ที่รวบรวมวันสำคัญไว้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เวบนี้จึงได้นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ แก่ ส่วนราชการ หน่วยงานและสถานศึกษา เชิญชมได้แล้วครับ. |
พิธีพุทธภิเษก
พระพุทธรูปเป็นจำลองของพระพุทธเจ้า สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 600 โดยกษัตริย์ของกรีกชื่อ เมนันเดอร์ หรือ พระยามิลินทร์ เจตนาในการสร้างครั้งแรก เพียงเพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่มีอินทรีย์ไม่แก่กล้า ไม่ว้าเหว่ได้ที่พึ่งทางใจครบ ถ้วนเมื่อกล่าวว่า พุทธัง สรณํง คัจฉามิ ก็จะได้เห็นพระพุทธรูป เป็นการสร้างเพื่อความรู้สึกได้ที่พึงเต็มเปี่ยมทางใจเท่านั้น มิใช่ สร้างเพื่อการค้า การสร้างครั้งนั้น ก็มีพิธีพุทธภิเษก 7 วัน 7 คืน
การประกอบพิธีพุทธาภิเษกนั้น
อาจารย์ไพบูลย์
ธาตุทอง (อ้างถึงใน สวิง
บุญเจิม) ได้ให้คำแนะนำไว้
ดังนี้
1. เครื่องใช้ในพิธี
1.1. ราชวัติ 4 มุม
1.2.
ฉัตรขาว 7 ชั้น 4 คัน
1.3.
ต้นกล้วย 4 ต้น
1.4.
ต้นอ้อย 4 ต้น
(สำหรับต้นกล้วยและต้นอ้อยนั้น
ให้ตั้งไว้ในมุมราชวัติ)
1.5.
ด้ายสายสิญจน์ให้มากพอประมาณ
ด้ายสายสิญจน์ให้โยงตามยอดฉัตรที่มุมทำเป็นตรีนิสิงเห
(ชื่อยันต์ชนิดหนึ่ง)
นอกจากนั้นให้โยงไปทั่วบริเวณ
มณฑพิธี
จะโยงเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือรูปอะไรก็ได้
แล้วแต่ถนัด
1.6. โอ่งน้ำมนต์หรือโอ่งมังกร 6
ใบ ให้แยกตามจุดต่าง ๆ
ดังนี้
4 ใบ ให้ตั้งไว้ในมุมราชวัติ
อีก 2 ใบ ให้ตั้งไว้สองข้างตู้เทียนชัยโอ่งน้ำมนต์แต่ละโ่อ่งให้โยงสายสิญจน์เป็นเส้นดิ่ง
ตรงลงมามัดรอบที่คอโอ่งน้ำมนต์ไว้ทุกโอ่ง
1.7.
ผ้าขาวและฝ้ายขาวสำหรับห่อพระประธาน
ถ้าเป็นพระบูชาขนาดเล็กไม่ต้องห่อผ้าขาว
การห่อพระประธานจะต้องห่อให้มิดชิดตั้งแต่เกศถึงฐาน
ใช้ฝ้ายขาวที่เตรียมไว้มัดเป็น
3 ตอน หมายถึงตัณหาสาม
1.8.
กิ่งโพธิ์หนึ่งกิ่งสำหรับตั้งไว้ข้างหลังพระประธาน
1.9.
หญ้าคาแปดกำมือ
เวียนรอบฐานพระประธาน
1.10. ดอกบัวขาว 18 ดอก
วางลงโอ่งน้ำมนต์โอ่งละ 3
ดอก
2. ธูปและเทียนในพิธี
2.1. เทียนชัย 1 เล่ม
สูงเท่าตัวเจ้าภาพ
หรือสูงเท่าพระประธาน
ใช้ผึ้งแท้น้ำหนักเท่าอายุเจ้าภาพ
หรือเท่าพระชนมายุของ
พระพุทธเจ้า เฉลี่ยปี่ละ 1 บาท
ไส้เทียนนับให้ได้ 80 เส้น เท่าพระชนมายุของพระพุทธเจ้า
เช่นกัน
2.2.
เทียนมงคลสูงเท่ากับความยาววัดโดยรอบศีรษะเจ้าภาพ
ใช้ขี้ผึ้งหนักเล่มละ 9 บาท
ใส่ไส้เล่มละ 45 เส้น 2 เล่ม
ตั่งใส่
เชิงเทียนใหญ่วางลงตั้งไว้ในโอ่งน้ำมนต์
2 ใบ
ที่ตั้งอยู่สองข้างตู้เทียนชัย
2.3.
เทียนวิปัสสี
2 เล่ม ความยาววัดเล่มละ 1 ศอก
ไส้เทียน 45 เส้น
ตั้งใส่เชิงเทียนวางไว้หลังตู้พระธรรมพร้อมแจกัน
ดอกไม้ 1 คู่ กระถ่างธูป 1
กระถาง ธูปหอม 9 ดอก
2.4.
เทียนนพเคราะห์ 9 เล่ม
หนักเล่มละ 1 บาท
ใส่เทียนผึ้งธรรมดาก็ได้
สำหรับจุดที่โต๊ะวางบวงสรวง
2.5.
เทียนน้ำมนต์ 108 เล่ม ใส่พาน 4
ใบ
แบ่งเทียนใส่พานสี่ใบเท่า
ๆ
กันนำไปวางไว้ตามโอ่งน้ำมนต์
4 ใบ เพื่อจุด
เวลาพระสงฆ์สวดพุทธาภิเษก
3.
จำนวนพระภิกษุที่นิมนต์ในงานพุทธภิเษก
( 1.) เจริญพระพุทธมนต์ 9 รูป
( 2.)
สวดพุทธาภิเษก 2 ชุด ชุดละ 4
รูป รวม 8 รูป
( 3.)
นั่งปรก 2 ชุด ชุดละ 4 รูป
4. บัตรพลีบูชาเทวดานพเคราะห์
4.1.
บัตรพลีจะต้องทำด้วยกาบกล้วยสด
ใบตองสด 1 ที่ ทำเป็นสี่เสา
โดยใช้ก้านกล้วยสดเอากาบกล้วยห่อรอบ
แต่ละเสา
ใช้ไม้กลัดคัดให้แน่นทำเป็นชั้น
ๆ แต่ละชั้นห่างกันประมาณ 4
นิ้ว
ให้ลดหลั่นใหญ่เล็กขึ้นไปตามลำดับเหมือนรูปเจดีย์
แต่ละชั้นเอาใบตองสดปูเพื่อวางของ
บัตรพระเกตุต้องทำ 9 ชั้น
4.2.
บัตรเทวดาอัฐทิศ 8 บัตร
ทำเหมือนบัตรพระเกตุทุกประการ
แต่ทำเพียงบัตรละ 3
ชั้นเท่านั้น
4.3.
บัตรพระภูมิ 1 บัตร
ทำเป็นรูปสามเหลี่ยมกระบะ
ซึ่งทางภาษาท้องถิ่นเรียกว่า
กระทงหน้าวัว
4.4. บัตรกรุงพาลี 1 บัตร
ให้มีรูปเป็นสี่เหลี่ยมกระบะเหมือนกระทงสะเดาะเคราะห์แต่ไม่มีห้อง
ของที่จะใส่ในบัตรจะต้องเอาใบตองสดทำเป็นกระทงปากหนาม
เหมือนขันหมากแก้วใส่หมากพลูถวายพระแล้ว
บรรจุอาหารคาว, หวาน, ขาวตอก, ถั่วคั่ว, งาคั่ว, นม, เนย หมากพลู แล้วนำไปบรรจุลงในบัตรพลีต่าง ๆ ให้ครบทุก
บัตร นอกจากนั้นยังมีธงหางสามเหลี่ยมเล็ก ๆ สี่ต่าง ๆ ติดคันแร้ว ปักตามบัตรพลีให้ครบทุกชั้น
สำหรับบัตรพลีต่าง ๆ เมื่อทำเสร็จ นำอาหารคาวหวานบรรจุเสร็จแล้วตั้งโต๊ะปูด้วยผ้าขาวไว้มุมข้างนอกราชวัติ
นอกจากบัตรพลีแล้วจะต้องมีพานผลไม้ 2 พานใหญ่ ในพานนั้นประกอบด้วยผลไม้ 7 อย่าง เช่น กล้วยน้ำว้า มะพร้าว
อ่อน ส้มเขียวหวาน องุ่น สับปะรดและอื่น ๆ ยกเว้นละมุด ใส่พานยกขึ้นตั้งโต๊ะเดียวกันกับบัตรพลี นอกจากผลไม้
แล้วจะต้องมีขนมต้มขาว ขนมต้มแดง และขนมแห้งอีก 5 อย่าง ใส่พานวางไว้บนโต๊ะที่ปูผ้าขาวพร้อมบัตรพลีและ
พานผลไม้และบายศรีปากชาม 1 คู่ ใช้ไข่สุกปักยอดบายศรีให้สวยงามต้นละ 1 ฟอง
5. ลำดับขั้นตอน
หลังจากตระเตรียมของเสร็จแล้ว จะต้องเริ่มลำดับรายการ ดังนี้
5.1. ก่อนจะเจริญพระพุทธมนต์ เจ้าภาพหรือประธานในงาน จุดเทียนนพเคราะห์ที่โต๊ะบวงสรวง 9 เล่มและจุดธูปหอม 9
ดอก ปักตามบัตรพลีและผลไม้ต่าง ๆ จนครบ
5.2. จากนั้นให้พราหมณ์ประกอบพิธีฤกษ์ บูชานพเคราะห์ โดยกล่าวชุมนุมเทพ เริ่มตามลำดับ ดังนี้
- บวงสรวงสังเวย
- ไหว้ครู
- เรียกคาถา
- บูชาฤกษ์
- กล่าวคำประกาศเทวดา
5.3. เจ้าภาพหรือประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
5.4. รับศีล 8
5.5. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้ว
- พระสงฆ์นั่งปรกเข้าประจำที่
- พระพิธีธรรมเข้าประจำที่
5.6. พราหมณ์อ่านโองการพุทธภิเษก จบแล้ว
5.7. ประธานในพิธีจุดเทียนชัย เทียนมงคล และเทียนพุทธาภิเษก
( พระพิธีธรรม 4 รูป สวดคาถาจุดเทียนชัย)
5.8. จากนั้น พระสงฆ์ที่นิมนต์สวดพุทธาภิเษกก็จะเริ่มสวดพุทธาภิเษก จนได้เวลาอันสมควรแล้วก็หยุด ชีพราหมณ์ที่มา
ร่วมในพิธีก็เริ่มสวดพุทธคุณ
ธรรมคุณและสังฆคุณ
จนครบกำหนดกันไว้แล้วหยุด
พระสงฆ์ผู้สวดพุทธาภิเษกก็
จะสวด ต่อ ไปสลับกับบีพราหมณ์
จนจบ
ถึงเวลาอันสมควร พระเถระผู้ประธานในการประกอบพิธี ก็จะดับเทียนชัยด้วยใบพลูเจ็ดใบเจ็ดใบ ตัดด้ายมงคล ตัดบ่วง โปรย
ข้าวตอกดอกไม้ ประพรมน้ำพุทธมนต์ เป็นเสร็จพิธีพุทธาภิเษก ในระหว่างดับเทียนนั้น ให้พระสงฆ์ที่สวดพุทธาภิเษกสวดคาถาดับ เทียนชัยจนจบเป็นเสร็จพิธี
จัดทำโดย
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ
จังหวัดสุรินทร์ 32170 โทร. 044 -
569213 |