[
กลับไปหน้าแรก ]
การทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกา
เมื่อผู้ใดได้รับความเดือดร้อน หรือได้รับความไม่เป็นธรรม ก็ต้องดิ้นรน และแสวงหาความเป็นธรรมสำหรับตน มีประเพณีมาแต่โบราณว่า ถ้าราษฎรไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือเดือดร้อนอย่างใดอย่างหนึ่งที่บ้านเมือง หรือข้าราชการผู้มีหน้าที่ไม่ช่วย และละเลยหน้าที่ ราษฎรสามารถทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อร้องขอความเป็นธรรมต่อพระองค์ ในรัชการที่ 4 ทรงประกาศไว้ว่า พระมหากษัตริย์ต้องรับฎีกาของราษฎร จะห้ามมิได้ โดยระเบียบปฏิบัติ ผู้ประสงค์ทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาต่อองค์พระมหากษัตริย์ ต้องทำหนังสือรายงานทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาส่งผ่านสำนักราชเลขาธิการ ซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานตรวจสอบพิจารณาผ่านนกองนิติการไปจนถึงการพิจารณาของคณะองคมนตรี แต่บางครั้งราษฎรมักจะทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาในโอกาสเฝ้า ฯ ในการเสด็จ ฯ ซึ่งจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบเสียก่อน ในกรณีนี้ ส่วนมากมักจะปกปิดไม่ยอมแจ้งเจ้าหน้าที่ เพราะแจ้งให้ทราบแล้วกลัวจะไม่ได้ทูลเกล้า ฯ ถวาย.
|
จัดทำโดย
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ
จังหวัดสุรินทร์ 32170 โทร. 044 -
569213
ชนัญชิดา
ทองคำ
chida.cha@chaiyo.com
|